CBRsCLUB
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 



หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไม่พ้นรันอินทำแบบนี้เป็นอะไรมั้ย  (อ่าน 6907 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
bzanaja
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 229



« ตอบ #20 เมื่อ: 26, มกราคม 2013, 03:21:50 AM »

อ้างถึง
ไม่ได้ลดมาเพื่อเบรดคับ แต่ถ้าฉุกเฉินจริงๆ ผมก็ทำอันนี้เพราะไม่รู้จะเล่นยังไงดี ก็เลย ปิดคันเร่ง ลดเกียร์ เบรคหน้าหลัง แต่ที่กลัวคือได้ยินเสียงเครื่องยนต์ดังมาก

ตรงส่วนนี้ไม่รู้จะเรียงยังไงแบบว่าทุกอย่างทำไวมากในเวลาไม่กี่วินาทีจะลองอธิบายเท่าที่จำความได้นะ ปิดคันเร่ง เบรคหลัง แล้วลดเกียร์ 2 ที ก่อนแล้ว กำเบรคหน้า ถ้าถามว่าตอนเบรคจิ้มแรงมั้ยรู้ัสึกตอนนั้นเบรคหลังจะลงไม่หนักพอถึงช่วงที่กำเบรคหน้าก็จะเหยีบยเบรคหลังหนักเลย แต่อย่างที่ว่าไปตอนลดเกียร์เสียงเครื่องดังมากคับห่วงอยู่ ตั้งแต่ออกรถมาทำไป 1 ครั้ง ไม่ไหวจะเคลียร์ TAXI สมัยนี้บางคันขับได้กวนบาทามากขับอยู่ดีๆ มันก็เบรคไม่รู้เบรคอะไรแล้วผมขับตามมันระยะห่างประมาณ รถกะบะ1 คันกี่เมตรไม่รู้ละ (วิ่งอยู่เลนซ้าย) ผู้โดยสารมันก็ไม่มีหรือเห็นผมตัวเล็กขี่รถใหญ่เลยหมั่นไส้แกล้งเบรค(ว่ะ) พูดแล้วเสียอารมณ์จริงๆ เป็นประสบการณ์ที่ไม่อยากเจออีกเลย

ปล.อ่านแล้วอาจบอกว่าแปลกหรืออาจบอกว่าผิดวิธีแต่วินาทีนั้นร่างกายไปเองเลยคับคิดไรไม่ออกพอหยุดรถได้แล้ว นึกอยู่ว่า(Gu!)ทำไปได้ไง ดีที่ไม่ชน
ปล2.เจอมาแบบนี้ละเลยอยากถามว่าถ้าเบรคแนวนี้เครื่องจะเป็นอะไรมั้ย โดยปกติจะรถความเร็วแบบที่ว่าไปตอนตั้งกะทู้ เพราะทำบ่อยที่สุด ส่วนประสบการณ์ตรงมันแค่ครั้งเดียวอ้างอิงไม่ค่อยได้เลยไม่อยากเอามาตั้งเป็นกะทู้เพื่อถามคับ เพราะลดความเร็วเครื่องเสียงดังแถมไม่พ้นรันอินด้วยห่วงก็เครื่องยนต์เนี่ยละ
บันทึกการเข้า

skylinegtr02
ตามมาเร็ว เดี๋ยวจะพาไปออกทริป
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 336



« ตอบ #21 เมื่อ: 26, มกราคม 2013, 08:02:29 AM »

ผมว่าคำตอบมีในหน้าแรกหมดแล้วนะอยู่ที่ว่าจะเชื่ออันไหน
บันทึกการเข้า
Jongthana
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 259


แค่ได้อยู่ด้วยกันก็มีความสุขแล้ว รักพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคนมากครับ


อีเมล์
« ตอบ #22 เมื่อ: 26, มกราคม 2013, 12:27:54 PM »

ผมอ่านเรื่อง Engine Break ไปรอบนึง ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันแหละครับ แต่พอมาขับจริงๆ ถึงบางอ้อเลยว่า Engine Break มันเป็นงี้นี่เอง แต่ผมไม่เสี่ยงกับการทดรอบเกียร์ข้ามแบบนั้นนะครับ ผมมาแรงๆ ผมปล่อยปลอกเอาแล้วค่อยๆ เชน ลงมาทีละ 1 เกียร์เอาครับ จังหวะตามความรู้สึกเอาครับว่าเสียงเครื่องประมาณนี้ ทดเกียร์ได้แล้ว อะไรแบบเนี้ย ผมไม่กล้าเสี่ยงแบบนั้นกลัวเครื่องมัน วู่ววว แล้วสะบัด 55+ สงสัยผมจะอ่อนหัด  <%6 <%6
บันทึกการเข้า

ค่ายเปลี่ยนแต่ใจยังอยู่ ณ ตรงนี้นะฮ้าว์ฟฟฟฟฟ <3
bzanaja
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 229



« ตอบ #23 เมื่อ: 27, มกราคม 2013, 05:10:36 PM »

อ้างถึง
ผมอ่านเรื่อง Engine Break ไปรอบนึง ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันแหละครับ แต่พอมาขับจริงๆ ถึงบางอ้อเลยว่า Engine Break มันเป็นงี้นี่เอง แต่ผมไม่เสี่ยงกับการทดรอบเกียร์ข้ามแบบนั้นนะครับ ผมมาแรงๆ ผมปล่อยปลอกเอาแล้วค่อยๆ เชน ลงมาทีละ 1 เกียร์เอาครับ จังหวะตามความรู้สึกเอาครับว่าเสียงเครื่องประมาณนี้ ทดเกียร์ได้แล้ว อะไรแบบเนี้ย ผมไม่กล้าเสี่ยงแบบนั้นกลัวเครื่องมัน วู่ววว แล้วสะบัด 55+ สงสัยผมจะอ่อนหัด 

คับผมกำลังศึกษาเรื่องการเบรคอยู่นิ ยังมือใหม่สำหรับมอไซต์คันใหญ่และนี้คือมีครัชท์คันแรกของผมด้วย เจอเหตุการณ์มาแบบนั้นต้องศึกษาเรียนรู้กันอีกหลายอย่างเลย ถ้าวันนั้นจิ้มตูด TAXI ไปตำรวจจะให้ใครผิดก็ไม่รู้ วิ่งมาเท่าไรไม่รู้ไม่ได้ดูไมล์แต่ไม่น่าเกิน 70 เบรคทันก็ดีละ ตอนนี้รถขับไปยังไม่เจอปัญหาคับ โชคดีอยู่มั้ง (ผมยังไม่อยากมีประสบการณ์ราคาแพงนะคับ)
ว่าได้เรื่องเบรคแล้วจะเอาเรื่องการกลับรถอยู่เพราะทุกวันนี้กลับรถได้อยู่แต่ยังไม่ค่อยถนัดยังกลับรถได้ไม่สมบูรณ์เท่าไร หรือเพราะตัวเล็กไปเลยลำบากตรงนี้ nooooo
บันทึกการเข้า
artunz
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 293



อีเมล์
« ตอบ #24 เมื่อ: 28, มกราคม 2013, 03:50:58 AM »

Engine break  อย่า ได้ ทำ เลยครับ    ระวังเครื่องจะ พัง เอา  ถ้าไม่ ฉุกเฉิน จริงๆ     เพราะ  อาจจะทำให้ชุด เกียร์มีปัญหาได้     ถ้ารถมันพูดได้ มันคงจะ ขอร้องคุณว่าอย่า เลย  l7
engine เบรคก็แค่ ผ่อนคันเร่งไม่ใช่หรอครับ ถ้าผ่อนแล้วรถพัง จะมีคันเร่งไว้ให้ผ่อนทำไม  :-\ (ลองออกไปขี่ดูสิครับ เบรคหน้าหลังแต่ยังบิดคันเร่ง จะเบรคอยู่หรือเปล่า กับ อีกอันไม่บิดคันเร่งแต่เบรคหน้าหลัง ใช้ระยะเบรคน้อยกว่าอีก)
ตามที่ผมเข้าใจคือ ผ่อนคันเร่ง ถ้ารอบมันต่ำก็ลดเกียร์ ไม่ใช่ ลดเกียร์เพื่อเบรค


บันทึกการเข้า

ถนนเถื่อน เสียไม่ได้
bzanaja
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 229



« ตอบ #25 เมื่อ: 28, มกราคม 2013, 04:13:02 AM »

พี่คับผมไปลองของมา ขี่แบบรอบแรง กับรอบเบา รู้สีกว่าถ้ารอบมาไม่แรงเวลาปิดคันเร่งแทบไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่พอมาแรงปิดคันเร่งไปทีกระชากล้อหลังแทบดิ้นมีเสียงอิ๊ดนิดๆ มันคือธรรมชาติใช่มั้ยพี่
บันทึกการเข้า
jakkit1990
ลูกผู้ชายต้อง CBR เท่านั้น!!!!!!!!!!
I'm CBRsCLUB
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 595


อีเมล์
« ตอบ #26 เมื่อ: 29, มกราคม 2013, 03:35:11 AM »

เข้าใจและพี่น้อง คือ คันเร่งนี่ปิดไปเลยใช่มั้ยครับ
แล้วจากนั้นก็ลดเกียร์ลง โดยคันเร่งก็ยังปิดเหมือนเดิม
แน่นอนครับ เกิดอาการกระชากแน่นอน
EB ก็ะจะแรงตามไปด้วย
เป็นไปได้ควร คลอคันเร่งเพิ่มนิดนึงอย่าปล่อยตายนะ
ทำบ่อยเครื่องมันก็ไม่ไหวเหมือนกันนะ
ส่วนเบรค เราควรฝึกครับ จะได้ชิน
ปล.หากฝึกบ่อยๆๆ เวลาหยุดรถกระทันหัน จากเกียร์ 6 มา เกียร์ 1 ไม่เกิน 1.5 วิ แน่นอน
แต่ก็ใช่เบรคควบด้วยนะ
เพราะผมเป็นบ่อย
บันทึกการเข้า

bzanaja
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 229



« ตอบ #27 เมื่อ: 29, มกราคม 2013, 04:05:05 AM »

อ้างถึง
เข้าใจและพี่น้อง คือ คันเร่งนี่ปิดไปเลยใช่มั้ยครับ
แล้วจากนั้นก็ลดเกียร์ลง โดยคันเร่งก็ยังปิดเหมือนเดิม
แน่นอนครับ เกิดอาการกระชากแน่นอน
EB ก็ะจะแรงตามไปด้วย
เป็นไปได้ควร คลอคันเร่งเพิ่มนิดนึงอย่าปล่อยตายนะ
ทำบ่อยเครื่องมันก็ไม่ไหวเหมือนกันนะ
ส่วนเบรค เราควรฝึกครับ จะได้ชิน
ปล.หากฝึกบ่อยๆๆ เวลาหยุดรถกระทันหัน จากเกียร์ 6 มา เกียร์ 1 ไม่เกิน 1.5 วิ แน่นอน
แต่ก็ใช่เบรคควบด้วยนะ
เพราะผมเป็นบ่อย
อ่ออ..!!~ อธิบายมาแบบนี้ก็เข้าใจ ในรูปภาพของหน้าแรกแล้ว ก็สงสัยอยู่ ว่า 3 ภาพ มันคืออะไร เปิด ปิด เปิด งงเลยเพิ่ง เก็ต >coooool
บันทึกการเข้า
Herulaya
I'm CBRsCLUB
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,089



« ตอบ #28 เมื่อ: 30, มกราคม 2013, 04:32:11 AM »

เยอะไปหมดทั้ง Engine Brake, Shift-Down, Back-torque ว่าแต่มันคืออะไร ?

ก่อนจะลงไปเจาะว่า ตกลง Engine Brake ใช้ยังไงต้องไปดูว่า Engine Brake คืออะไรแล้วมายังไงก่อน ... ถ้าเอาแบบสั้นๆ "แรงเอ็นจิ้นเบรก" คือแรงตรงข้ามกับ "อัตราเร่ง" เกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างความเร็วของล้อหลัง และรอบการหมุนของเครื่องยนต์  นี่คือที่มาของแรงอัตราเร่ง และเอ็นจิ้นเบรกครับ ...แต่ระหว่างทางจากเครื่อยนต์มาที่ล้อกำลังที่ว่านี้ ยังต้องผ่านคลัตท์ - ชุดเกียร์ และอัตราทดขั้นสุดท้าย หรือสัดส่วนระหว่างสเตอร์หน้า กับสเตอร์หลัง
 
 
ดังนั้นในชั้นต้นผมขอสรุปว่า "แรงเอ็นจิ้นเบรกกับแรงบิดที่เราใช้สร้างอัตราเร่ง เป็นแรงตัวเดียวกัน" มาจาก Torque เหมือนกัน แต่มีคำขยายเป็น Positive Torque (เร่งอัตราเร่ง) หรือ Negative Torque หรือ Back Torque ก็มีซึ่งสองคำหลังก็คือการพูดถึงเอ็นจิ้นเบรกนี่แหละ ทีนี้เมื่อมันเป็นเรื่องเดียวกัน ความหมายของมันไม่ใช่แค่การลดเกียร์อย่างที่เข้าใจ เพียงแค่คุณวิ่งด้วยความเร็วคงที่ค่าหนึ่งแล้วปิดคันเร่งทันทีนั้นก็เท่ากับคุณทำให้เกิดแรง Engine เบรกแล้ว ส่วนการลดเกียร์นั้นเป็นส่วนเสริมการทำงานของแรงเพื่อให้เราสามารถปรับหรือขยายแรงจากเครื่องยนต์ให้มีผลมากหรือน้อยได้ตามต้องการ อันนี้คือสาระสำคัญ
 

การมีชุดเกียร์และอัตราทดขั้นสุดท้ายนี่เองทำให้ ทำให้เราปรับแรงจากเอ็นจิ้นเบรกให้เข้ากับการใช้งานได้ง่าย เป็นการดึงประโยชน์ทางอ้อมจากเครื่องยนต์มาใช้ จนเป็นที่มาของ "การชิฟดาวน์" นำมาใช้กับการขี่รถเป็นเรื่องเป็นราว ... แต่ยังมีความเข้าใจผิดอยู่ประการหนึ่ง เหตุมันมาจากคำว่า "Engine Brake" นี่แหละ คนบางกลุ่มดันไปเข้าใจว่ามันคือ "เบรก" บางคนถึงขนาดบอกว่ามันเป็นอุปกรณ์การเบรกอย่างที่ 3 เลย ซึ่งไม่ใช่ครับ มันเป็นแค่ "ส่วนเสริม" เท่านั้นไม่ใช่อุปกรณ์หลักเหมือนเบรกหน้าและหลัง
 
ตัวอย่างต่อไปนี้จะทำให้คุณรู้จัก เอ็นจิ้นเบรกดีขึ้นครับ
 
ตัวอย่างที่ 1.หาเส้นทางที่ปลอดภัยสถานที่ปิดที่สามารถทดลองได้ อุปกรณ์การขับขี่พร้อม วิ่งด้วยความเร็วคงที่สัก 30 กม/ชมด้วยเกียร์ 1 แล้วปิดคันเร่งให้หมด (ไม่ต้องใช้เบรกหน้าหลัง) คุณรู้สึกอะไร ?
 
ตัวอย่างที่ 2. ทำเหมือนเดิมตามข้ัอหนึ่งแต่เพิ่มความเร็วเป็น 40 และอัพเกียร์เป็นเกียร์ 2 พอได้ความเร็วคงทีแล้ว ก็ทำเหมือนเดิมปิดคันเร่งให้หมด แล้วจากนั้นสักครึ่งวินาทีต่อมาคุณลดเกียร์จากเกียร์ 2 > 1 แล้วปลอยคลัตท์ทันที คุณรู้สึกอะไร ?
 
ตัวอย่างที่ 3.ใช้ความเร็วเท่าเดิมตามตัวอย่างที่ 1 และ 2 แต่คราวนี้ เปลี่ยนเป็นเกียร์ 3 ดู เมื่อได้ความเร็วคงที่ที่เกียร์ 3 แล้ว ปิดคันเร่ง ลดเกียร์ ไล่ลำดับลงมาห่างกันช่วงละ ครึ่งวินาที จนถึงเกียร์ 1 เปรียบเทียบความรู้กับ 2 ตัวอย่างแรก คุณรู้สึกอย่างไร ?
 
อันนี้ทุกท่านไปหาคำตอบตามตัวอย่างกันเองนะครับ ผมจะว่าประเด็นต่อไปเลย
 
FAQ : 1 . บางคนบอกว่า การใช้ Engine Brake ด้วยการ Shift-Down เกียร์ไปด้วยจะทำให้ระยะเบรกสั้นลง ?
อันนี้ผมได้ยินมาเยอะและบ่อยมากๆ ตลอดช่วงตัี้งแต่ผมทำหนังสือจนถึงมาเป็นครูฝึกปัจจุบัน ก็ยังได้ยินอยู่ ขออธิบายแบบนี้ ใครที่เรียนคอร์สการขับขี่ไปแล้วไม่ว่าจะที่ไหนก็ตามที่เค้าเปิดอบรม  ระหว่างที่คุณทดสอบการเบรกในสถานีเบรกเพื่อให้ได้ระยะทางที่สั้นที่สุด ข้อห้ามสำคัญคืออะไรครับ ? "ห้ามกำคลัชต์หรืออมคลัชต์" ใช่ไม๊ ?
 
ตอบ 1:
ย้อนไปที่การเบรก ระหว่างการใช้เบรกหลักคือเบรกหน้าและเบรกหลัง เหตุผลที่ห้ามกำคลัชต์ก็เพราะ ไม่ต้องการให้ล้อหลังเสียแรงเกาะกับผิวถนนระหว่างที่คุณใช้เบรก เนื่องจากเบรกหลังโดยหน้าที่มันทำหน้าที่เป็นหางเสือช่วงคุมทิศทางรักษาเสถียรภาพของรถระหว่างการเบรก
 
ถ้าคุณไปกำคลัชต์แรงขับจากเครื่องยนต์จะหายไป ทำให้เบรกหลังที่คุณกดอยู่ไม่มีแรงต้านผลที่ตามมาคือ"ล้อล๊อก" พอล้อล๊อกก็เหมือนกับลูกธนูไม่มีแผงขนที่หาง หรือเครื่องบินที่ไม่มีแพนหาง เหมือนเรือที่วิ่งไปโดยไม่มีหางเสือ จึงเป็นข้อห้ามการกำคลัชต์ขณะใช้เบรกหลัก
 
แต่ในการ Shift Down เกียร์ เราต้องใช้คลัชต์ตัดกำลังเครื่องยนต์ชั่วคราวเพื่อเปลี่ยนเกียร์ แต่ข้อดีมันก็กลายเป็นข้อเสียเพราะระหว่างที่คุณกำคลัชต์แรงเอ็นจิ้นเบรกจะหายไปจากล้อแม้จะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ แต่มันมีผล
 
พอเอาสองอย่างมาใช้รวมกันนี่แหละครับคือปัญหา !!!! เวลาเบรกไม่ใช้่คลัชต์แต่การเปลี่ยนเกียร์มันต้องกำคลัชต์ เอาละดิ ไงดีฟะเนี่ย ??? แล้วระยะเบรกจะสั้นลงจริงไม๊ ? แล้วจะเสียความมั่นคงในการเบรกหรือไม่ ?
 
คำตอบของผมคือเอาการเชนเกียร์มาใช้ลักษณะเพื่อให้ระยะเบรกสั้นลงนั้นไม่ได้ครับ นั้นคือเราเข้าใจผิด เพราะไปคิดว่า Engine Brake คือ"ระบบเบรกอีกตัวหนึ่ง" แต่มันก็ไม่ใช่ครับที่มาที่ไปของสไตล์การเบรกแบบนี้มาจากการแข่งขันสมัยก่อน
 
สมัยก่อนตั้งแต่มีรถมอเตอร์ไซค์หรือจักรยานติดเครื่องยนต์ยุคแรกๆ รถมีกำลังต่ำมากๆ คนออกแบบพยายามปรับปรุงให้กำลังเครื่องยนต์มีอัตราเร่งมากขึ้น แต่พัฒนาการของแรงม้าและแรงบิดช่วงแรกๆ นั้นมันช้ามาก วิศวกรจึงคิดระบบเกียร์ขึ้นมาใช้ เพื่อเพิ่มกำลังฉุดของเครื่องยนต์ให้มากขึ้นในช่วงที่ต้องใช้อัตราเร่ง ต่อมาเครื่องยนต์สองจังหวะเกิดขึ้นมาและพัฒนาการได้เร็วกว่ามากๆ แต่ข้อเสียของเครื่องสองจังหวะคือมันมีแรงบิดต่ำ ข้อดีคือทำรอบได้สูง วิศวกรจึงต่อยอดระบบเกียร์ให้เหมือนกันอุปกรณ์หม้อแปลงไฟฟ้าทำโวล์เตจน้อยๆกลายเป็นโวล์เตจสูงๆได้ อย่างขดลวดเทสล่าที่สามารถสร้างกระแสไฟบ้านธรรมดาให้มีความต่างศักย์ระดับเดียวกับฟ้าผ่าเป็นล้านโวล์ทได้ ชุดเกียร์ในเครื่องยนต์ก็ทำหน้าที่คล้ายๆกัน เปลี่ยนเครื่องยนต์ที่มีำกำลังน้อยๆ ให้เป็นเครื่องที่มีกำลังมากโดยแลกกันกับรอบการทำงาน
 
ถ้าคุณเคยขับรถสองจังหวะมาก่อนคงเข้าใจ ถ้าจะให้รถมีกำลังต้องถือรอบไว้สูงๆแล้วใช้เกียร์ตึงๆมือไว้ตลอดเวลา แล้วถ้ามีการลดความเร็วหรือเบรก กว่าจะเรียกรอบกำลังกลับมาได้ ก็ปั๊มรอบกันเกือบตาย นั้นแหละครับคือสไตล์ที่มาของการ "ชิฟดาว์น" ไปพร้อมกับการเบรก เพื่อให้เมื่อปลดเบรกแล้วสามารถชาร์จมีอัตราเร่งต่อได้ทันที ซึ่งสำคัญมากกับการแข่งขัน แต่พอมาใช้กับเครืืองยนต์ 4 จังหวะโดยเฉพาะในปัจจุบัน มันกลับกลายเป็นข้อเสียเพราะรถ 4 จังหวะแรงบิดสูงกว่ามาก การใช้สไตล์ปั๊มรอบลดเกียร์รอจังหวะชาร์จตัวของเครื่องสองจัวหวะ ทำให้เกิดแรงเบิดย้อนกลับส่วนเกินที่เราต้องการ (Back Torque) จำนวนมากมายบางคนเล่นเอาเกียร์แตกคามือไปเลยก็มี



ผมมีตัวอย่างให้คุณไปลองครับ ว่ามันสั้นลงจริงหรือไม่
 
ตัวอย่างที่ 4 : ให้คุณหาที่ว่างผิวถนนสะอาดปลอดภัยจากรถอื่นๆ หาไพลอนหรือมาร์คมาตั้งระยะจุดเริ่มเบรก(ตามภาพ) วิ่งด้วยความเร็ว 50 กม/ชม พอถึงจุดเบรกให้คุณปิดคันเร่งแล้วเบรกหน้าและหลังให้ได้ระยะเบรกสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วบันทึกผลเอาไว้ ทำซ้ำๆจนกว่าระยะเบรกคุณจะได้ค่าที่สั้นที่สุดโดยเฉลี่ย 4 ครั้ง โดยใช้เบรกหน้าหลังอย่างเดียวนะครับไม่ต้องเชนเกียร์
 
ที่นี้พอคุณได้ระยะเบรกเพียวๆ แล้วลองใหม่ครับเบรกให้ได้ระยะทางสั้นที่สุดด้วยความเร็วเดิมทุกอย่าง แต่เพิ่มการเชนเกียร์อย่างที่คุณสงสัยเข้าไปด้วย เอาให้ระยะเบรกสั้นที่สุด แล้วเอาผลมาเทียบกันดูครับ
 
ในรถทุกคันถ้าคุณไม่โกงปิดคันเร่งมาก่อนถึงจุดเบรก ด้วยความเร็ว 50 กม/ชมระยะเบรกฝึกมาดีแล้วจะได้ระยะสั้นที่สุดระหว่าง 11 ถึงไม่เกิน 15 เมตร(ในสนามแข่งที่มีผิวทางดีมาก)เรียกว่าไม่เกินไพลอนวัดระยะตัวที่ 3 แต่ถ้ายังไม่ชำนาญหรือผิวถนนไม่ดีนักจะอยู่ระหว่าง 15-20 เมตร แต่ไม่เป็นไรครับ เอาค่าที่คุณทำได้ดีที่สุด 4 ครั้งมาเฉลี่ยกัน แล้วเทียบกันดู
 
ถ้าคุณข้องใจอีกก็เทียบกันทุกวันครับ คุณก็จะรู้ได้ด้วยตัวเองครับว่ามันสั้นกว่าจริงหรือไม่ แต่ถ้าไม่อยากลองผมเฉลยให้ ถ้าต้องการเบรกเพื่อหยุดรถจริงๆ เมื่อใช้การลดเกียร์ไปด้วยระยะเบรกจากยาวขึ้นกว่าเดิมประมาณ 15-30% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เบรกเพียวๆ โดยไม่ใช้เกียร์ครับ ดังนั้นจึงเข้ากันไม่ได้กับการเบรกเพื่อ "หยุดรถ" เพราะจุดประสงค์ของการชิฟดาวน์ระหว่างเบรกมีไว้เพื่อเรียกกำลังพร้อมที่จะชาร์จตัวต่อไปครับเช่นในช่วงเบรกก่อนเข้าโค้งพอพ้นโค้งไปแล้วก็ชาร์จตัวออกไปได้เลยไม่ต้องรอรอบหรือปั๊มเกียร์ใหม่  สุดท้ายใครยังใช้การเบรกแบบนี้เพื่อ "หยุดรถ" เปลี่ยนวิธีคิดโดยด่วนครับ

การใช้ Engine Brake ที่เหมาะสม
เนื่องจากมันเป็นเครื่องมือเสริม ดังนั้นการนำไปใช้งานก็ต้องใช้มันในลักษณะอุปกรณ์เสริม หลักสำคัญเวลาเอาไปใช้ก็คือ
1. ถ้าต้องการแรงเอ็นจิ้นเบรกไม่มากใช้การ "เปิด หรือปิดคันเร่ง"
2. ถ้าต้องการมากขึ้น "ใช้การเปลี่ยนเกียร์ขึ้นหรือลงเพื่อขยายแรงเอ็นจิ้นเบรก"
หลักสำคัญก็มีเท่านี้แหละครับสำหรับการใช้นอกสนามแข่ง


ส่วนในสนามแข่งเขาใช้เพื่อจดประสงค์เดียวครับคือทำไงก็ได้ ให้เสียจังหวะหน่วงความเร็วให้น้อยที่สุด แต่เลี่ยงไม่ได้ก็ทำเพื่อให้เครื่องและเกียร์มีรอบกำลังมากที่สุดพร้อมที่จะกดออกไปได้ทันที ในการแข่งขันจึงซีเรียสขนาดต้องไปไล่อัตราทดเกียร์กันใหม่เลยที่เดียว (ระดับ GP)
 
ตัวอย่างการใช้งาน
 
1.ใช้งานในชีวิตประจำวัน "ช่วยลดภาระการเบรกของระบบหลัก"เช่น คุณกำลังวิ่งไปบนถนนไปเรื่อยๆ ข้างหน้าไฟแดง ไม่มีรถตามหลังระยะกระชั้นชิด คุณปิดคันเร่งปล่อยรถไหลไป แล้วค่อยๆ ลดเกียร์ตามลงมา เรื่อยๆ พอถึงไฟแดงคุณก็กดเบรกเพื่อหยุดรถตามปกติ
 
2.โค้งตามเขา ขึ้นลงทางชัึน
บางคนคิดว่าจะใช้ Engine Brake เฉพาะตอนลงเขาเผื่อผ่อนภาระของระบบเบรกไม่ให้ทำงานหนักเกินไปเท่านั้น แต่จริงๆแม้แต่ทางโค้งบนเขาที่ไม่ชันมากก็ใช้ได้ วิธีการก็คือแทนที่คุณจะใช้เกียร์สูง คุณลดเกียร์ลงมาหาช่วงที่เหมาะสมกับความเร็วที่คุณใช้ เช่นผมประมาณแล้วว่าโค้งบนเขาช่วงนี้ความเร็วเฉลี่ยอยู่ประมาณ 80 กม/ชม คุณก็หาช่วงเกียร์ที่ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป แล้วคุมคันเร่งแทน เช่นถ้าโค้งข้างหน้าคุณรู้แน่ๆว่า ต้องลดความเร็ว ก็ยกคันเร่งแต่เนิ่นๆ พอถึงโค้งก็ลดเกียร์(จะลดลงกี่เกียร์ก็แล้วแต่คุณเห็นว่าเหมาะสม) ไม่ต้องให้เกียร์ตึงปานจะขาดใจ แต่ก็ไม่หย่อนจนเป็นมะเขือเผา  อย่างโค้งที่ผมชอบช่วงท่องเที่ยวทางเหนือเส้น "ขุึนยวม" ระยะทาง 66 กิโลแห่งคุณภาพ ความเร็วในโค้งเฉลี่ยประมาณ 60-90 ระดับเกียร์ 2-3-4 วนอยู่แค่นี้ ไม่ต้องใช้เบรก เน้นเปิด และปิดคันเร่ง ถ้าไม่พอลงเกียร์ช่วย ถ้าโค้งลึกจริงๆ ถึงจะใช้เบรก

ที่เหลือมันก็แล้วแต่คุณจะมีจินตนาการว่าจะเอามันไปเสริมกลยุทธการขี่ของคุณยังไง แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่ามันเป็นอุปกรณ์เสริมไม่ใช่อุปกรณ์หลัก เพราะการใช้ Engine Brake หนักๆบ่อยเข้า จนเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์ มีความเป็นไปได้ที่ประกันเครื่องยนต์จะขาดนะครับ สำหรับเรื่อง Engine Brake ก็มีเท่านี้ครับ

อ่านให้เข้าใจไม่ยากครับ สิ่งที่ถูกต้องมันคืออะไร

ขอบคุณข้อมูลจาก ครูต้อม GEAR7   Ducati DRE Instructor ครับ
บันทึกการเข้า

bzanaja
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 229



« ตอบ #29 เมื่อ: 30, มกราคม 2013, 05:39:13 AM »

จากข้อมูลของ พี่ Herulaya
อ่านแล้วทำให้เข้าใจอะไรอีกเยอะเลยสำหรับการเบรค สนใจที่สุดคือเรื่องเบรคเนี่ยละเพราะไม่ใส่ใจอาจถึงตายได้เลย <%6
เรื่องความเร็วสูงสุดชั่งมันคนขี่ในเมืองไม่มีที่ว่างให้อัดแรงๆ แล้วตอนนี้รถยนต์คันแรกเต็มเมืองเลยคับ >yes
บันทึกการเข้า
Jongthana
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 259


แค่ได้อยู่ด้วยกันก็มีความสุขแล้ว รักพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคนมากครับ


อีเมล์
« ตอบ #30 เมื่อ: 30, มกราคม 2013, 05:54:56 AM »

ถูกครับแรงไปก็เท่านั้น จะพาลซวยไปทิ้มตูดชาวบ้านเปล่าๆ ถ้าเราพลาดขึ้นมา ปลอดภัยไว้ดีที่สุดครับ  l7
บันทึกการเข้า

ค่ายเปลี่ยนแต่ใจยังอยู่ ณ ตรงนี้นะฮ้าว์ฟฟฟฟฟ <3
timotooo
ตามมาเร็ว เดี๋ยวจะพาไปออกทริป
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 390


เท่กว่าเรา มีอีกเป็นล้าน ...


« ตอบ #31 เมื่อ: 30, มกราคม 2013, 06:48:56 AM »

ไม่พ้นรันอินทำแบบนี้เป็นอะไรมั้ย

... " ไม่พ้นรันอิน - ทำแบบนี้ - เป็นอะไรมั๊ย " ...

... ผมสายตาไม่ดี อ่านให้หมดไม่ไหว จับใจความได้ง่ายๆว่า " ลดเกียร์ 2 ดอกติดกัน " ...

... คำตอบตามคำถามก็คือ เครื่องไม่พัง ( ทันที ) แค่สะสม .. แรงกระทำดังกล่าวจะไปหนักที่เฟืองหรือแกนเฟือง สิ่งที่อันตรายและเปราะบางสุดคือ " ลูกปืนแกนเกียร์ " จะชำรุดให้ระวัง ต่อมา
ก็อาจจะได้เจอคือเรื่องภายในห้อง " ลูกสูบ " ที่อาจจะเป็นรอยลูกฟัด คลอน หลวมไว .. อาการต่อมาคือ " โซ่ " มีอาการข้อตายเร็ว เกิดจากการกระชากจากแรงเครื่อง " สเตอร์ " ล้มไว " ยางกันกระชาก " เสียรูปไว ...

ฯลฯ

... แต่ทั้งหมดนี้ อาจถูกทดแทนและยอมที่จะแลกมาได้ ถ้ามัน " สนุก " ... หลายครั้งที่ความสนุก มีค่ามากกว่าเงินค่าบำรุงรักษา ...

... แต่ถ้าคิดจะแค่ใช้งาน ... สิ่งที่เคยทำอยู่นั้น แนะนำว่าไม่ทำจะดีกว่าครับ หัดใช้ระบบห้ามล้อให้ชำนาญก่อนครับ แล้วค่อยไปเล่นกับเอนจิ้นเบรค ...

... ไอ้การใช้เอนจิ้นเบรคแบบ " เชนยับ " อะ ... ถ้าคล่องจนถึงระดับนึง จะรู้ว่า จาก 6 มา 1 นั้น ในช่วงแต่ละเกียร์ต้องเปิด-ปิดคลัชท์ตามไปด้วยทุกเกียร์ ไม่งั้นก็เปล่าประโยชน์ เครื่องสะดุด ล้อตาย ท้ายปัด จากเบรคไม่อยู่แล้ว จะกลายเป็นแหกด้วย ก๊าบๆๆๆ ...


 ;) ;) ;)




 <%6 <%6 <%6

บันทึกการเข้า



จำหน่ายกระจกแต่งทรงเหลี่ยมฐานยึดตรงรุ่น CBR150/250 เป๊ะๆ ไม่ต้องเจาะแปลง .. http://www.cbr150club.com/board/index.php?topic=49639.0 .. ร้านค้าสปอนเซอร์เว๊ปจ้า
KAATO
CBR Commando
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,889


เฟี๊ยววววววเง๊าะห์ส์ษ์ศ์ฎ์ฆ์ฑ์ฐ์

to_nemesis@hotmail.com
เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 30, มกราคม 2013, 08:13:01 AM »



... ไอ้การใช้เอนจิ้นเบรคแบบ " เชนยับ " อะ ... ถ้าคล่องจนถึงระดับนึง จะรู้ว่า จาก 6 มา 1 นั้น ในช่วงแต่ละเกียร์ต้องเปิด-ปิดคลัชท์ตามไปด้วยทุกเกียร์ ไม่งั้นก็เปล่าประโยชน์ เครื่องสะดุด ล้อตาย ท้ายปัด จากเบรคไม่อยู่แล้ว จะกลายเป็นแหกด้วย ก๊าบๆๆๆ



ขอเสริมเป็นภาษาบ้านๆให้จขกทด้วยอีกคนครับ

ตามวิธีที่พี่ตู่บอกมานั้น คือการทำ Slipper Clutch แบบบ้านๆ ที่ดีมากๆ



จังหวะลดเกียร์จากรอบสูงๆ ถ้าตบเลยแล้วปล่อยเลย ล้อล็อคกระจาย

แต่วิธีที่จะลดเกียร์ได้เยอะๆโดยล้อไม่ล็อค ขออธิบายง่ายๆตามนี้ครับ

- กำคลัช เพื่อรอสับเกียร์

-เปิดคันเร่งเบาๆ เพื่อเรียกรอบเพิ่มมาชดเชยเกียร์ที่ต่ำลง พร้อมกับปล่อยคลัชแค่ครึ่งเดียว
หรือแล้วแต่ระยะคลัชของรถเราด้วย คล้ายๆการเลียคลัช นั่นแหละ

-สับเกียร์ที่ต่ำลง จังหวะนี้ เครื่องที่รอบสูงจากการเปิดคันเร่งรอ +เลียคลัชปล่อย จะทำให้ล้อไม่ล็อค

-ถ้าจะเชนลงอีก ก็ทำซ้ำ


บีบคลัชหมด-เปิดคันเร่งเรียกรอบ-สับเกียร์ต่ำลง-ปล่อยคลัชครึ่งเดียว-ปล่อยคลัชหมด นี่คือ1 loop
บันทึกการเข้า

bzanaja
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 229



« ตอบ #33 เมื่อ: 30, มกราคม 2013, 02:02:15 PM »

ขอบคุณคับพวกพี่ๆ ได้ความรู้เรื่องเบรคเยอะเลย ว่าจะขอแจ้งให้ลบกระทู้นี้ไปเลยจะดีมั้ย จะได้ประหยัดพื้นที่ของเว็ปบอร์ด เพราะเรื่องสงสัยเคลียร์หมดแล้วคับ !goodjob
บันทึกการเข้า
หมาเฝ้าบอร์ด
ครอบครัวมาก่อนเสมอ
CBR Moderator
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8,594


นี้มันลูกลิงชัดๆ

819078776 thahnandorn@hotmail.com cbr150club.com cbr150club.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #34 เมื่อ: 30, มกราคม 2013, 02:19:37 PM »

ขอบคุณคับพวกพี่ๆ ได้ความรู้เรื่องเบรคเยอะเลย ว่าจะขอแจ้งให้ลบกระทู้นี้ไปเลยจะดีมั้ย จะได้ประหยัดพื้นที่ของเว็ปบอร์ด เพราะเรื่องสงสัยเคลียร์หมดแล้วคับ !goodjob
ลบหมดแล้วคนอื่นจะอ่านอะไรล่ะครับ  <%6 <%6 <%6
บันทึกการเข้า

bzanaja
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 229



« ตอบ #35 เมื่อ: 31, มกราคม 2013, 01:35:26 AM »

อ้างถึง
ลบหมดแล้วคนอื่นจะอ่านอะไรล่ะครับ <%6 <%6 <%6
งั้นไม่แจ้งลบก็ได้คับพี่ เผื่อมีใครสงสัยแบบผมจะได้มาอ่าน และได้ดูคำตอบเพื่อเคลียร์ข้อสงสัยแบบผมไปซะ  ;D ;D (ชื่อกระทู้ไม่คล้องกับเรื่องราวเลย)
มือใหม่ส่วนมากสนใจแต่เรื่องความเร็วสูงสุด น้อยส่้วนที่จะสนใจเรื่องเบรคและสภาพเครื่องยนต์เป็นอันดับแรก
ผมก็ไม่อยากคิดถ้าเบรคไม่เป็นจะทำยังไงเวลามาแรงๆ เร็วๆ หัวทิ่มเสียตังได้รับประสบการณ์ราคาแพง
(ตอน Taxi ผมมาไม่แรงเท่าไรกว่าจะเบรคได้ยังเสียวอยู่เลย @#%$( ต้องมาศึกษายกใหญ่เลย แล้วก็ต้องแก้นิสัยการลดความเร็วกับการเบรคแบบเก่าๆ ด้วย)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  



หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 23 คำสั่ง