CBRSCLUB.COM

CBRs FORUM => CBR : CAFE => ข้อความที่เริ่มโดย: nine_ut ที่ 01, เมษายน 2008, 07:56:50 AM



หัวข้อ: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: nine_ut ที่ 01, เมษายน 2008, 07:56:50 AM
คัดมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์นะครับ

กฎกระทรวง

ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๗)

ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์

พ.ศ. ๒๕๒๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนตร์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้



ข้อ ๖  รถจักรยานยนตร์ต้องมีเครื่องสำหรับรถ ดังต่อไปนี้

(๑) โคมไฟดังต่อไปนี้ ที่มีกำลังไฟและความส่องสว่างตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด

(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล แสงขาวหรือเหลืองอ่อน จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดที่กึ่งกลางหน้ารถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องติดอยู่ในระดับเดียวกันและห่างจากแนวถึงกลางหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง โคมไฟทุกดวงต้องให้แสงสีเดียวกัน

โคมไฟแสงพุ่งไกลจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น เว้นแต่เป็นการให้แสงสัญญาณชั่วขณะ

(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน ที่ให้แสงสีเดียวกับโคมไฟแสงพุ่งไกล จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดที่กึ่งกลางหน้ารถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องติดอยู่ในระดับเดียวกันและห่างจากแนวกึ่งหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง

โคมแสงพุ่งต่ำจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้ายเท่านั้น

(ค) โคมไฟเลี้ยว ชนิดไฟกระพริบ แสงเหลือง ติดที่ด้านหน้า จำนวน ๒ ดวง และแสงเหลืองหรือแดง ติดที่ด้านท้ายจำนวน ๒ ดวง โดยให้ติดไว้ที่ข้างซ้ายและข้างขวา โคมไฟทุกดวงที่ติดที่ท้ายต้องให้แสงสีเดียวกัน แต่ละด้านติดอยู่ระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟเลี้ยวทุกดวงที่อยู่ข้างเดียวกันต้องกระพริบพร้อมกันในขณะที่รถให้สัญญาณเลี้ยว

(ง) โคมไฟท้าย แสงแดง จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ที่กึ่งกลางท้ายรถในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร

(จ) โคมไฟหยุด แสงแดง จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ที่กึ่งกลางท้ายรถในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟหยุดถ้ารวมในโคมไฟท้ายจะต้องมีความสว่างมากกว่าความสว่างของโคมไฟท้ายนั้น และจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่ใช้ห้ามล้อเท่านั้น

(ฉ) โคมไฟส่องป้ายทะเบียนต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย

โคมไฟส่องป้ายทะเบียนต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย

(๒) แผ่นสะท้อนแสงสีแดง มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ข้อ ๒ (๒) ติดที่กึ่งกลางท้ายรถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร สามารถสะท้อนแสงเห็นได้ในเวลากลางคืนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร

(๓) เครื่องมองหลัง ซึ่งเป็นกระจกเงา จำนวน ๒ ชุด ติดอยู่ในระดับเดียวกันที่ด้ายซ้ายและด้านขวาและห่างจากแนวกึ่งกลางหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง ในที่ที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้างและด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน

(๔) ห้ามล้อ ที่ใช้การได้ดี

(๕) แตร ชนิดเสียงเดียว ที่ดังพอสมควร

(๖) ท่อไอเสียพร้อมด้วยเครื่องระงับเสียง เฉพาะรถจักรยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ แบบสันดาปภายใน

(๗) เครื่องวัดความเร็ว ที่ใช้การได้ดี และต้องมีแสงสว่างทำให้สามารถอ่านความเร็วของรถในเวลากลางคืนได้

(๘)[๔] ระบบสตาร์ตเครื่องกำเนิดพลังงานพร้อมสวิตช์ที่เมื่อเครื่องกำเนิดพลังงานทำงานโคมไฟแสงพุ่งไกลตาม (๑) (ก) หรือโคมไฟแสงพุ่งต่ำตาม (๑) (ข) ต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย

 

ข้อ ๖/๑[๕]  นอกจากจะต้องมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถตามข้อ ๖ แล้ว รถจักรยานยนต์สาธารณะต้องมีเครื่องอุปกรณ์อันจำเป็นเพื่อความปลอดภัยของคนโดยสาร ดังต่อไปนี้

(๑) ที่พักเท้าทั้งสองด้านของตัวรถ สำหรับให้คนโดยสารวางเท้าได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

(๒) ฝาครอบโซ่หรือบังโซ่

(๓) ราวยึดเหนี่ยวที่ด้านท้ายหรือด้านข้างของตัวรถที่มีความมั่นคงแข็งแรง

(๔) แผ่นป้องกันความร้อนจากท่อไอเสีย ในกรณีเป็นรถจักรยานยนต์ที่มีท่อไอเสียอยู่สูงกว่าที่วางเท้า

(๕) อุปกรณ์อื่นอันจำเป็นเพื่อความปลอดภัยตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด

 

ข้อ ๗  รถจักรยานยนตร์อาจมีเครื่องอุปกรณ์อื่นสำหรับรถได้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

(๑) โคมไฟหรี่ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน ที่มีกำลังไฟและความส่องสว่างตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่กึ่งกลางหน้ารถ ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องอยู่ในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟทุกดวงต้องให้แสงสีเดียวกัน

โคมไฟหรี่จะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น

(๒) โคมไฟอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อนี้และข้อ ๖ (๑) ถ้าจะนำมาใช้ต้องเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ

ที่มา http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01&linkID=2B#2B



หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: Nine_am ที่ 01, เมษายน 2008, 08:00:34 AM
ขอบคุณ คับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: ittiwat ที่ 01, เมษายน 2008, 08:00:53 AM
http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01&linkID=headLaw (http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01&linkID=headLaw)


เกียร์โยง กับ คอท่อเลส ไม่มีนี่นา อืม......ปริ๊นหน้านี้ติดตัวไว้ดีกว่าเวลาโดนจับเปิดให้อ่านซะ จะได้เลิกจับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: ViRuS_BC ที่ 01, เมษายน 2008, 08:20:44 AM
แบบนี้เกียร์โยงก็ไม่โดนสิครับ ไม่มีข้อกฏหมายบังคับที่เฉพาะเจาะจง

........ มีคนโทรมาถามผมว่าแล้ว เกียร์โยง จะโดนข้อหาดัดแปลงสภาพไหม


กฏหมายการดัดแปลงสภาพรถมี 2 กรณีครับ

1. การเพิ่มเติมนั้นอาจทำให้เกิดอันตราย หรือมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง
2. แตกต่างไปจากที่จดทะเบียน


http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01 (http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: THE_MIN ที่ 01, เมษายน 2008, 03:49:22 PM
ขอบคุณครับหมวด ;)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: eak373 ที่ 01, เมษายน 2008, 04:43:33 PM
ขอบคุณคร้าบ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: F-CBR ที่ 01, เมษายน 2008, 04:54:23 PM
ขอบคุณคับ หมวด




 :D


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: TOP ที่ 01, เมษายน 2008, 05:01:56 PM
พี่ทำไมผมโดนอะไฟเลี้ยวสีแดงอะ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: nine_ut ที่ 01, เมษายน 2008, 05:03:18 PM
ไฟเลี้ยวด้านหน้าหรือไฟด้านท้ายล่ะ
ถ้าไฟหน้าได้สีเดียว คือเหลือง


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: NONG 278 ที่ 01, เมษายน 2008, 07:44:39 PM
 ;)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: ViRuS_BC ที่ 02, เมษายน 2008, 07:39:13 AM
ไฟเลี้ยวด้านหน้าหรือไฟด้านท้ายล่ะ
ถ้าไฟหน้าได้สีเดียว คือเหลือง

แล้วไฟท้ายติดได้กี่สีครับหมวด


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: GOOD ที่ 02, เมษายน 2008, 08:26:17 AM
ขอบคุณครับหมวด

ผมเอาขึ้นหัวข้อบนเลย
เพื่อประโยชน์ของสมาชิก


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: ONITSUKA ที่ 05, เมษายน 2008, 04:50:44 PM
 ;)ขอบคุณครับความรู้อีกแล้ว ;)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: KORRAKOD ที่ 13, เมษายน 2008, 01:22:06 AM
ได้ความรู้ดีๆอีกแล้ว ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: firefiter199 ที่ 19, เมษายน 2008, 05:02:23 AM
 ???เป็นที่หายสงสัยไปอีกระดับ
(http://img367.imageshack.us/img367/5018/004bb7.th.jpg) (http://img367.imageshack.us/my.php?image=004bb7.jpg)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: Eragon ที่ 10, พฤษภาคม 2008, 06:46:46 AM
เพิ่มเติมครับ


(http://img227.imageshack.us/img227/7203/scanst3.jpg) (http://imageshack.us)
(http://img227.imageshack.us/img227/7203/scanst3.908563c3dc.jpg) (http://g.imageshack.us/g.php?h=227&i=scanst3.jpg)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: khanclub ที่ 10, พฤษภาคม 2008, 04:30:04 PM
ดีมากๆ เลย ครับ....


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: ittichain ที่ 11, พฤษภาคม 2008, 05:14:29 AM
 ;)

สิ่งดีๆมีประโยชน์ทั้งน้าน...
ถ้าทำได้คงจะดีไม่ใช่น้อย

ขอบคุณครับ................


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: thong2526 ที่ 23, พฤษภาคม 2008, 06:08:06 AM
พี่ทำไมผมโดนอะไฟเลี้ยวสีแดงอะ

พี่ท๊อปครับไอ้ไฟเลี้ยวของพี่อ่ะนะ     ไม่เท่าไหร่หรอกครับ      แต่ไอ้ไฟเบล็คนี่ซิครับ   โฮ่.........สุดยอดเลย   อ่ะนะ    อิ อิ อิ    (โต้งสวนหลวง) :-X


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: TRIUMPH ที่ 06, มิถุนายน 2008, 06:11:37 PM
ขอบพระคุณรุณช่องคร๊าบ..บ....บ...บ ;) ;) ;)
จะได้มีข้อโต้แย้ง ::) ::) ::)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: เข้มโค้งS ที่ 25, กรกฎาคม 2008, 09:47:54 PM
ดีมากๆเลยครับ :-[


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: lalorel ที่ 03, สิงหาคม 2008, 12:47:09 AM
ยาวจังนะคับจําไม่หมดหรอกคับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: ONITSUKA ที่ 04, สิงหาคม 2008, 05:04:16 PM
(๖) ท่อไอเสียพร้อมด้วยเครื่องระงับเสียง เฉพาะรถจักรยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ แบบสันดาปภายใน

ขอถามหมวดหน่อยนะครับว่า.........เครื่องยนต์แบบสันดาปภายในนี่มันเป็นยังไงครับแล้วมันแยกแยะ

เครื่องยนต์ไว้กี่ประเภทครับ.....ขอถามหน่อยนะครับผมไม่รู้จริงๆครับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: nine_ut ที่ 04, สิงหาคม 2008, 09:06:53 PM
เครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน ก็เครื่องยนต์รถปกตินี่ล่ะครับ ... ส่วนเครื่องยนต์แบ่งเป็นกี่ประเภทนั้น ขอความกรุณา คุณกู๊ดเข้ามาให้ความรู้อีกทีครับ เพราะผมก็ไม่ทราบจริงๆ :-\


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: GOOD ที่ 05, สิงหาคม 2008, 02:02:18 AM
ที่ใช้ในเมืองไทยปัจจุบันมันสันดาบภายในทั้งหมดอยู่แล้วครับ ทั้ง2หรือ4จังหวะ
แต่ประเด็นสำคัญของประโยคนั้นคือ

"ท่อไอเสียพร้อมด้วยเครื่องระงับเสียง"

นี่คือสิ่งที่กำหนดไว้
เครื่องระงับเสียงในที่นี้คือ Silencer หรือปลายท่อเก็บเสียงนั่นเอง

บอกแค่นี้พอ มากกว่านี้ไม่ขอบอก จะเป็นการชี้โพรงให้กระรอก ;D
ส่วนกระรอกมิ้งค์ถ้าสงสัย โทรถามได้ เดี๋ยวหาโพรงให้


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: Hayabusa ที่ 05, สิงหาคม 2008, 02:08:09 AM
แล้วเสียงท่อมีกำหนดไว้ไหมครับ ว่าห้ามเกินกี่dB


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: GOOD ที่ 05, สิงหาคม 2008, 02:32:08 AM
ที่เคยเจอนะครับ อยู่ที่85
แต่มีครั้งหนึ่งดูจากประกาศที่ขนส่ง
เขาแจ้งว่า89.5เดซิเบลเอ อันนี้ก็งงอยุ่ครับว่าอันไหนแน่
แต่ที่แน่ๆ ใช้แค่ท่อเดิมผ่านิดหน่อยแค่เสียงเปลี่ยน ไม่ดังเกินแน่นอนครับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: ONITSUKA ที่ 05, สิงหาคม 2008, 03:06:08 AM
ที่ใช้ในเมืองไทยปัจจุบันมันสันดาบภายในทั้งหมดอยู่แล้วครับ ทั้ง2หรือ4จังหวะ
แต่ประเด็นสำคัญของประโยคนั้นคือ

"ท่อไอเสียพร้อมด้วยเครื่องระงับเสียง"

นี่คือสิ่งที่กำหนดไว้
เครื่องระงับเสียงในที่นี้คือ Silencer หรือปลายท่อเก็บเสียงนั่นเอง

บอกแค่นี้พอ มากกว่านี้ไม่ขอบอก จะเป็นการชี้โพรงให้กระรอก ;D
ส่วนกระรอกมิ้งค์ถ้าสงสัย โทรถามได้ เดี๋ยวหาโพรงให้
;) ;) ;)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: BadBoy ที่ 14, สิงหาคม 2008, 08:15:20 PM
 :-\ :-\ :-\ :-\


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: Ravy 9 ที่ 16, สิงหาคม 2008, 02:17:36 AM
 ;) ;) ;)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: Pahon ที่ 23, สิงหาคม 2008, 06:37:33 AM
แบบนี้เกียร์โยงก็ไม่โดนสิครับ ไม่มีข้อกฏหมายบังคับที่เฉพาะเจาะจง

........ มีคนโทรมาถามผมว่าแล้ว เกียร์โยง จะโดนข้อหาดัดแปลงสภาพไหม


กฏหมายการดัดแปลงสภาพรถมี 2 กรณีครับ

1. การเพิ่มเติมนั้นอาจทำให้เกิดอันตราย หรือมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง
2. แตกต่างไปจากที่จดทะเบียน


http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01 (http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01)

การที่บอกว่าแตกต่างไปจากที่จดทะเบียนนีคือ ถ้าต่างจากที่ออกมาเดิมๆจากศูนย์ก็เท่ากับต่างกับที่จดทะเบียนใช้รึเปล่าครับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: GOOD ที่ 23, สิงหาคม 2008, 08:58:53 AM
ต้องตามที่สมุดจดทะเบียนระบุครับ
เช่นเกียร์โยง มันไม่มีระบุ จะจับอีท่าไหนเนี่ย


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: Ravy 9 ที่ 23, สิงหาคม 2008, 09:16:01 AM
 ;) ;) ;)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: BlackFreedom ที่ 23, สิงหาคม 2008, 11:54:40 AM
(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน ที่ให้แสงสีเดียวกับโคมไฟแสงพุ่งไกล จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง  ติดที่กึ่งกลางหน้ารถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องติดอยู่ในระดับเดียวกันและห่างจากแนวกึ่งหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง

โคมแสงพุ่งต่ำจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้ายเท่านั้น


----------------------------------------------------

ไฟมอส นี่ผิดกฏหมายด้วยเหรอครับ

เห่อะๆๆ ว่าจะใส่เจ้าฟิโน่ซักก่ะหน่อย



หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: nine_ut ที่ 23, สิงหาคม 2008, 03:07:02 PM
แบบนี้เกียร์โยงก็ไม่โดนสิครับ ไม่มีข้อกฏหมายบังคับที่เฉพาะเจาะจง

........ มีคนโทรมาถามผมว่าแล้ว เกียร์โยง จะโดนข้อหาดัดแปลงสภาพไหม


กฏหมายการดัดแปลงสภาพรถมี 2 กรณีครับ

1. การเพิ่มเติมนั้นอาจทำให้เกิดอันตราย หรือมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง
2. แตกต่างไปจากที่จดทะเบียน


http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01 (http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01)

การที่บอกว่าแตกต่างไปจากที่จดทะเบียนนีคือ ถ้าต่างจากที่ออกมาเดิมๆจากศูนย์ก็เท่ากับต่างกับที่จดทะเบียนใช้รึเปล่าครับ

เห็นว่า สมาชิกของเรามีปัญหาทางกฎหมายกับเกียร์โยงมากว่าผิดกฎหมายหรือไม่
ขออนุญาตอธิบายดังนี้ครับ
พรบ.รถยนต์ พ.ศ.2522 บัญญัติว่า

 มาตรา 14 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้นเว้นแต่เจ้าของรถนำไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อน

        ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่ารถที่เปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในเวลาใช้ ให้สั่งเจ้าของรถแก้ไขและนำรถไปให้ตรวจสภาพก่อนใช้การตรวจสภาพดังกล่าวนายทะเบียนจะสั่งให้เจ้าของรถนำรถไปให้ตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกก็ได้ และให้นำมาตรา 12 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแต่ถ้านายทะเบียนเห็นว่ารถนั้นปลอดภัยในเวลาใช้ให้แก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนและใบคู่มือจดทะเบียนรถนั้นด้วย

แสดงว่ากฎหมายเจตนารมย์ของกฎหมายมุ่งจะให้ควบคุมรถที่แก้ไขดัดแปลงสภาพที่มีลักษณะไม่มั่นคง แข็งแรงหรือเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งการแก้ไขดัดแปลงนั้นได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของตัวรถแตกต่างจากที่ระบุไว้ในเล่มทะเบียน ซึ่งต้องให้นายทะเบียนตรวจสภาพรถก่อน เช่นการเปลี่ยนแปลง ปริมาณความจุ กระบอกสูบ จำนวนล้อ ลักษณะการขับเคลื่อน ประเภทเชื้อเพลิง เป็นต้น ที่พบเห็นบ่อยๆก็คือ รถกระบะใส่หลังคาโครงเหล็ก หรือหลังคาไฟเบอร์ ซึ่งยึดติตตรึงกับตัวรถ กรณีดังกล่าวนี้ต้องนำไปตรวจสภาพก่อนและให้นายทะเบียนระบุในสมุดคู่มือเพิ่มเติม เนื่องจากเดิมรถกระบะดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนไว้ว่ามีโครงหลังคา  และก็เรื่องการติดตั้งแก๊ส อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า แก้ไขดัดแปลงสภาพรถให้แตกต่างไปจากที่จดทะเบียน
แต่กรณีเกียร์โยงของรถจักรยานยนต์ นั้นเป็นอุปกรณ์ซึ่งเดิมก็มีติดมากับรถอยู่แล้ว ไม่ใช่ลักษณะของการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม แต่อย่างใด เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงลักษณะและวัสดุเท่านนั้น  การติดเกียร์โยงจึงต้องพิจารณาว่า การติดตั้งและอุปกรณ์ดังกล่าวนั้นได้มาตรฐานมีความมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ ถ้ามั่นคงแข็งแรงดี ก็ไม่ผิดตามมาตรานี้  ซึ่งการพิจารณาดังกล่าวเป็นหน้าที่ของนายทะเบียนพาหนะกรุงเทพฯ หรือจังหวัดต่างๆ ซึ่งหากไม่สบายใจจริงๆแนะนำว่า วันที่ไปเสียภาษีประจำปีให้นำรถไปแจ้งว่า ได้เปลี่ยนแปลงเกียร์โยงรถ และขอให้เจ้าหน้าที่บันทึกเพิ่มเติมในสมุดคู่มือ เสียเวลาไม่น่าจะเกิน 1 ชั่วโมง




หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: GOOD ที่ 23, สิงหาคม 2008, 07:33:49 PM
สุดยอดครับหมวด
เทพจริงๆ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: nine_ut ที่ 23, สิงหาคม 2008, 09:08:55 PM
 :-\ :-\ เขินเลย


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: Pahon ที่ 24, สิงหาคม 2008, 04:34:55 PM
ถ้าเราเปลี่ยนอุปกรณ์ เช่นเกียร์โยง ซึ่งไม่ระบุในเล่มทะเบียนแล้ว นายตำรวจที่ตั้งด่านจะจับจะทำอย่างไรครับ
1. ยอมให้ออกใบสั่งไปก่อน
2.ปฏิเสธข้อกล่าวหาแล้วให้นายตำรวจท่านนั้นไปฟ้องเอาครับ
3. วิธีอื่นๆ
รบกวนพี่หมวดช่วยแนะนำด้วยครับผมแต่งแค่สวยไม่ได้แต่งซิ่ง


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: nine_ut ที่ 24, สิงหาคม 2008, 06:21:29 PM
ถ้าตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม    การที่ตำรวจออกใบสั่ง คือการแจ้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับเกียร์โยง   ซึ่งก็คงไม่พ้นข้อหา แก้ไขดัดแปลงตัวรถฯ ตามใบสั่งมักจะเขียนย่อๆอย่างนี้ และขอยึดใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งขอย้ำว่าปัจจุบันตำรวจยังสามารถยึดใบขับขี่และสามารถออกใบสั่งแทนได้ แต่ถ้าเราจะปฏิเสธข้อหา ก็ให้ปฏิเสธก่อนออกใบสั่งและแจ้งกับตำรวจคนจับนั้น ด้วยวาจาที่สุภาพว่า ผมขอปฏิเสธข้อหาและให้พาไปพบพนักงานสอบสวนพร้อมกับตำรวจที่จับ ถ้าเค้าพาไป ก็ไปแจ้งกับพนักงานสอบสวนดีๆว่า ตามที่เจ้าพนักงานจราจรแจ้งข้อหามานี้ ผมขอปฏิเสธเนื่องจากไม่ได้ทำผิดตามข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนเค้าจะบันทึกปากคำไว้และทำสำนวนการสอบสวน ตามขั้นตอน แต่จะมีอำนาจควบคุมตัวได้เพียงเท่าที่ถามชื่อ ถามที่อยู่ และเท่าที่บันทึกปากคำเท่านั้น จะเอาเข้าห้องขังไม่ได้นะครับ และถ้าเรามา สน.พร้อมกับตำรวจจราจรที่จับดีๆ เค้าก็ไม่มีอำนาจใส่กุญแจมือเพราะเราไม่ได้ขัดขืน และเป็นเพียงความผิดลหุโทษ ซึ่งมีอัตราโทษปรับเท่านั้น ถ้าใครถูกกระทำการที่ไม่เป็นธรรม ก็สามารถร้องเรียนไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ครับ  ข้อสำคัญอยู่ที่เราพูดกับตำรวจดีๆ และปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมายให้ถูกต้องเท่านั้น


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: Pahon ที่ 25, สิงหาคม 2008, 04:26:59 PM
ขอบคุณครับ ได้รับความรู้มากเลยครับ
เพื่อนๆทุกท่านจะเปลี่ยนจะแต่งอะไร ยังไงก็ดู มอก. กันด้วยนะครับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: woffrider ที่ 25, สิงหาคม 2008, 09:04:56 PM
กระจ่างใหมครับพี่น้อง  :D ขอบคุณครับหมวด !goodjob !goodjob  !goodjob


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: black sheep ที่ 14, กันยายน 2008, 09:51:00 AM
คัดมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์นะครับ

กฎกระทรวง

ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๗)

ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์

พ.ศ. ๒๕๒๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนตร์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้



ข้อ ๖  รถจักรยานยนตร์ต้องมีเครื่องสำหรับรถ ดังต่อไปนี้

(๑) โคมไฟดังต่อไปนี้ ที่มีกำลังไฟและความส่องสว่างตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด

(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล แสงขาวหรือเหลืองอ่อน จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดที่กึ่งกลางหน้ารถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องติดอยู่ในระดับเดียวกันและห่างจากแนวถึงกลางหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง โคมไฟทุกดวงต้องให้แสงสีเดียวกัน

โคมไฟแสงพุ่งไกลจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น เว้นแต่เป็นการให้แสงสัญญาณชั่วขณะ

(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน ที่ให้แสงสีเดียวกับโคมไฟแสงพุ่งไกล จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดที่กึ่งกลางหน้ารถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องติดอยู่ในระดับเดียวกันและห่างจากแนวกึ่งหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง

โคมแสงพุ่งต่ำจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้ายเท่านั้น

(ค) โคมไฟเลี้ยว ชนิดไฟกระพริบ แสงเหลือง ติดที่ด้านหน้า จำนวน ๒ ดวง และแสงเหลืองหรือแดง ติดที่ด้านท้ายจำนวน ๒ ดวง โดยให้ติดไว้ที่ข้างซ้ายและข้างขวา โคมไฟทุกดวงที่ติดที่ท้ายต้องให้แสงสีเดียวกัน แต่ละด้านติดอยู่ระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟเลี้ยวทุกดวงที่อยู่ข้างเดียวกันต้องกระพริบพร้อมกันในขณะที่รถให้สัญญาณเลี้ยว

(ง) โคมไฟท้าย แสงแดง จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ที่กึ่งกลางท้ายรถในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร

(จ) โคมไฟหยุด แสงแดง จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ที่กึ่งกลางท้ายรถในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟหยุดถ้ารวมในโคมไฟท้ายจะต้องมีความสว่างมากกว่าความสว่างของโคมไฟท้ายนั้น และจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่ใช้ห้ามล้อเท่านั้น

(ฉ) โคมไฟส่องป้ายทะเบียนต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย

โคมไฟส่องป้ายทะเบียนต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย

(๒) แผ่นสะท้อนแสงสีแดง มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ข้อ ๒ (๒) ติดที่กึ่งกลางท้ายรถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร สามารถสะท้อนแสงเห็นได้ในเวลากลางคืนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร

(๓) เครื่องมองหลัง ซึ่งเป็นกระจกเงา จำนวน ๒ ชุด ติดอยู่ในระดับเดียวกันที่ด้ายซ้ายและด้านขวาและห่างจากแนวกึ่งกลางหน้ารถเท่ากันทั้งสองข้าง ในที่ที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้างและด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน

(๔) ห้ามล้อ ที่ใช้การได้ดี

(๕) แตร ชนิดเสียงเดียว ที่ดังพอสมควร

(๖) ท่อไอเสียพร้อมด้วยเครื่องระงับเสียง เฉพาะรถจักรยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ แบบสันดาปภายใน

(๗) เครื่องวัดความเร็ว ที่ใช้การได้ดี และต้องมีแสงสว่างทำให้สามารถอ่านความเร็วของรถในเวลากลางคืนได้

(๘)[๔] ระบบสตาร์ตเครื่องกำเนิดพลังงานพร้อมสวิตช์ที่เมื่อเครื่องกำเนิดพลังงานทำงานโคมไฟแสงพุ่งไกลตาม (๑) (ก) หรือโคมไฟแสงพุ่งต่ำตาม (๑) (ข) ต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย

 

ข้อ ๖/๑[๕]  นอกจากจะต้องมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถตามข้อ ๖ แล้ว รถจักรยานยนต์สาธารณะต้องมีเครื่องอุปกรณ์อันจำเป็นเพื่อความปลอดภัยของคนโดยสาร ดังต่อไปนี้

(๑) ที่พักเท้าทั้งสองด้านของตัวรถ สำหรับให้คนโดยสารวางเท้าได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

(๒) ฝาครอบโซ่หรือบังโซ่

(๓) ราวยึดเหนี่ยวที่ด้านท้ายหรือด้านข้างของตัวรถที่มีความมั่นคงแข็งแรง

(๔) แผ่นป้องกันความร้อนจากท่อไอเสีย ในกรณีเป็นรถจักรยานยนต์ที่มีท่อไอเสียอยู่สูงกว่าที่วางเท้า

(๕) อุปกรณ์อื่นอันจำเป็นเพื่อความปลอดภัยตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด

 

ข้อ ๗  รถจักรยานยนตร์อาจมีเครื่องอุปกรณ์อื่นสำหรับรถได้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

(๑) โคมไฟหรี่ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน ที่มีกำลังไฟและความส่องสว่างตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด จำนวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่กึ่งกลางหน้ารถ ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องอยู่ในระดับเดียวกัน สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๒๐ เมตร โคมไฟทุกดวงต้องให้แสงสีเดียวกัน

โคมไฟหรี่จะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น

(๒) โคมไฟอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อนี้และข้อ ๖ (๑) ถ้าจะนำมาใช้ต้องเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ

ที่มา http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01&linkID=2B#2B


!goodjob


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: BeeRCBR150 ที่ 26, กันยายน 2008, 08:40:57 PM
ขอบคุณครับ
(http://img218.imageshack.us/img218/1705/062newhj5.jpg) (http://imageshack.us)
(http://img218.imageshack.us/img218/062newhj5.jpg/1/w800.png) (http://g.imageshack.us/img218/062newhj5.jpg/1/)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: BeeRCBR150 ที่ 26, กันยายน 2008, 08:42:38 PM
 ;) ;) ;) ;
            ;) ;) ;)


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: lady_man777 ที่ 27, กันยายน 2008, 09:41:13 PM
thank you !>>) จะได้ไม่โดนตะรวจจับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: ELITE ที่ 13, มีนาคม 2009, 05:34:43 PM
โทดครับ...
แล้วรถSuzuki Skydrive(ขออนุญาติยกมาครับ)
มีไฟหน้า5ดวง 3ดวงเป็นไฟหรี่ต่างระดับกัน
จะผิดตามข้อ7ไหมครับ...


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: nine_ut ที่ 13, มีนาคม 2009, 06:03:19 PM
ระดับเดียวกันตามข้อ 7 คงไม่ถึงขนาดว่าต้องเป็นเส้นตรงเดียวกันน่ะครับ รถจักรยานยนต์ รุ่น kickass ก็ติดไฟโปรเจคเตอร์สองดวง แบบบนล่างเพียงแต่อยู่ติดกัน หรือ yamaha elegance ก็มีไฟหรี่สองดวงอยู่บน แต่อยู่ในโคมไฟเดียวกับโคมไฟหน้าก็ไม่ผิดนะครับ แต่ที่มีเกินสองดวงนี่ อันนี้ก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ ต้องลองถามกรมการขนส่งทางบกดูครับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: C_Chain ที่ 13, มีนาคม 2009, 06:47:28 PM
 ;) ;)



หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: ELITE ที่ 16, มีนาคม 2009, 10:50:27 PM
ระดับเดียวกันตามข้อ 7 คงไม่ถึงขนาดว่าต้องเป็นเส้นตรงเดียวกันน่ะครับ รถจักรยานยนต์ รุ่น kickass ก็ติดไฟโปรเจคเตอร์สองดวง แบบบนล่างเพียงแต่อยู่ติดกัน หรือ yamaha elegance ก็มีไฟหรี่สองดวงอยู่บน แต่อยู่ในโคมไฟเดียวกับโคมไฟหน้าก็ไม่ผิดนะครับ แต่ที่มีเกินสองดวงนี่ อันนี้ก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ ต้องลองถามกรมการขนส่งทางบกดูครับ
;) ;) ;)
ขอบคุณครับ
ผมคิดว่าถ้าไม่ผ่านก็คงไม่ออกมาขายหรอกนะครับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: nine_ut ที่ 15, เมษายน 2009, 07:04:00 AM
อัพเดทหน่อยครับ ปัจจุบัน มีกฎกระทรวงกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ
พ.ศ. ๒๕๕๑ ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 22 นี้แล้ว
รายละเอียดบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์ครับ

ข้อ ๑[๑]  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๒  ให้ยกเลิก
(๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓) กฎกระทรวงกำหนดให้กระจกกันลมและส่วนประกอบของตัวถังรถยนต์ที่เป็นกระจกต้องเป็นกระจกนิรภัย พ.ศ. ๒๕๔๕
(๔) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๑ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒

ข้อ ๓  รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้าง รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล ต้องมีและใช้ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(๑) โครงสร้างและตัวถัง ที่มีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย และสามารถรองรับการทำงานของรถขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้ในทุกสภาพการใช้งาน

(๒) เครื่องกำเนิดพลังงาน สามารถขับเคลื่อนรถขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกด้วยความเร็วที่เหมาะสมในสภาพการใช้งานตามปกติ

(๓) ระบบส่งกำลัง สามารถส่งกำลังรถขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

(๔) ระบบบังคับเลี้ยว สามารถบังคับรถได้อย่างคล่องตัว สะดวก และปลอดภัย

(๕) ระบบห้ามล้อ

(ก) ระบบห้ามล้อหลัก สามารถลดความเร็วหรือหยุดรถที่วิ่งอยู่ให้หยุดนิ่งได้อย่างปลอดภัย ติดตั้งในตำแหน่งที่ผู้ขับรถสามารถใช้การได้สะดวก

(ข) ระบบห้ามล้อขณะจอด สามารถทำให้รถหยุดนิ่งในขณะจอดได้

(๖) คันเร่ง สามารถเร่งเครื่องกำเนิดพลังงานได้อย่างสมบูรณ์และปลอดภัย และมีกลไกหรือระบบควบคุมคันเร่งที่สามารถควบคุมคันเร่งให้กลับคืนสู่ตำแหน่งปกติ

(๗) ระบบรองรับน้ำหนัก ที่สามารถลดแรงสั่นสะเทือน และรองรับน้ำหนักขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

(๘) ระบบเชื้อเพลิงหรือระบบพลังงานอื่น สามารถเก็บและส่งเชื้อเพลิงหรือพลังงานอื่นไปยังเครื่องกำเนิดพลังงานให้สามารถขับเคลื่อนรถได้อย่างปลอดภัย

(๙) ระบบไฟฟ้า สามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนควบเครื่องอุปกรณ์ที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย

(๑๐) ระบบไอเสีย สำหรับรถที่ปล่อยไอเสีย

(๑๑) กันชน ติดตั้งที่ด้านหน้าและด้านท้าย ไม่มีส่วนแหลมคมและสามารถลดผลกระทบต่อรถเมื่อเกิดการชนด้วยความเร็วต่ำ

ในกรณีที่เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน ลักษณะรถนั่งสองตอนท้ายบรรทุก รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน ลักษณะนั่งสองแถว หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล อาจติดตั้งกันชนที่ด้านหน้าเพียงอย่างเดียวก็ได้

(๑๒) ยาง สามารถรองรับน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

(๑๓) กงล้อ ทำด้วยโลหะหรือวัสดุอื่นที่มีความแข็งแรงที่สามารถรองรับรถขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

(๑๔) บังโคลนที่ล้อทุกล้อมีความกว้างไม่น้อยกว่าขนาดของยางรถ อาจใช้ส่วนของตัวถังเป็นบังโคลนก็ได้

ในกรณีที่บังโคลนไม่เป็นไปตามที่กำหนดต้องติดตั้งแผ่นบังโคลน

(๑๕) ประตู ที่มีความมั่นคงแข็งแรง ขณะปิดต้องป้องกันผู้ขับรถและคนโดยสารไม่ให้พลัดตกจากรถ มีอุปกรณ์ยึดและล็อคประตูที่ใช้การได้ดี

(๑๖) กระจกกันลมหน้าและส่วนประกอบของตัวถังที่เป็นกระจกต้องเป็นกระจกนิรภัย

(๑๗) อุปกรณลากจูง ติดตั้งอยู่ด้านหน้าของรถ เมื่อใช้งานสามารถรองรับแรงดึงหรือแรงดันได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุก

ในกรณีรถที่ใช้ลากจูงรถอื่น ต้องติดตั้งอุปกรณ์ลากจูงที่ด้านท้ายของรถ

(๑๘) อุปกรณ์ต่อพ่วง เฉพาะรถที่ใช้ลากจูงรถพ่วง ต้องมีอุปกรณ์ต่อพ่วงที่มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถลากจูงรถพ่วงขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างปลอดภัย

(๑๙) อุปกรณ์ปัดและฉีดทำความสะอาดกระจกกันลมหน้าที่ใช้การได้ดี สามารถปัดและฉีดทำความสะอาดพื้นที่กว้างพอที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นสภาพการจราจรด้านหน้ารถได้อย่างชัดเจน

(๒๐) อุปกรณ์มองภาพ สามารถให้ผู้ขับรถมองเห็นสภาพการจราจรด้านหลังและด้านข้างได้อย่างชัดเจน

(๒๑) ที่บังแดดสำหรับผู้ขับรถ ไม่มีส่วนแหลมคม และไม่เป็นเหตุที่ก่ออันตรายเมื่อเกิดการชนขึ้น

(๒๒) แตรสัญญาณชนิดเสียงเดียว ที่ดังพอสมควร

(๒๓) มาตรวัดความเร็ว ติดตั้งในตำแหน่งที่ผู้ขับรถสามารถอ่านค่าความเร็วรถได้อย่างชัดเจนและถูกต้องในเวลากลางวันและกลางคืน

(๒๔) เข็มขัดนิรภัยและจุดยึดเข็มขัดนิรภัย สามารถรั้งผู้ขับรถหรือคนโดยสารให้อยู่บนที่นั่ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือลดอันตรายแก่ร่างกายของผู้ขับรถหรือคนโดยสารกรณีที่เกิดการชน

(๒๕) เครื่องหมายหรือสัญญาณแสดงการทำงานของส่วนควบ เครื่องอุปกรณ์ หรือระบบการทำงานของรถ

(๒๖) ที่นั่งผู้ขับรถและคนโดยสาร ติดตั้งอย่างมั่นคงแข็งแรง

(๒๗) พนักพิงศีรษะ ที่สามารถจำกัดการเคลื่อนที่ของศีรษะไปด้านหลังเมื่อเกิดการชน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือลดอันตรายแก่ร่างกาย

(๒๘) อุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณดังต่อไปนี้

(ก) โคมไฟแสงพุ่งไกล แสงขาวหรือเหลืองอ่อน มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหน้า

(ข) โคมไฟแสงพุ่งต่ำ แสงขาวหรือเหลืองอ่อน มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหน้า

(ค) โคมไฟเลี้ยว แสงสัญญาณกะพริบสีอำพัน

(ง) โคมไฟข้างรถ สำหรับรถที่มีความยาวเกินกว่าหกเมตร แสงสัญญาณสีอำพัน มีทิศทางส่องสว่างไปด้านข้าง

โคมไฟข้างรถดวงที่อยู่ท้ายสุดอาจเป็นแสงสัญญาณสีอำพันหรือสีแดงก็ได้ หากกะพริบต้องให้แสงสัญญาณสีอำพันเท่านั้น

(จ) แสงสัญญาณเตือนอันตราย มีระบบควบคุมที่แยกจากโคมไฟเลี้ยว และเมื่อให้สัญญาณเตือนอันตรายโคมไฟเลี้ยวทุกดวงต้องกะพริบพร้อมกัน

(ฉ) โคมไฟแสดงตำแหน่งด้านหน้า แสงขาวหรือเหลือง มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหน้า

(ช) โคมไฟแสดงตำแหน่งด้านท้าย แสงแดง มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหลัง

(ซ) โคมไฟหยุด แสงแดง มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหลัง

(ฌ) โคมไฟถอยหลัง แสงขาว มีทิศทางส่องสว่างไปด้านหลังหรือด้านข้าง

(ญ) โคมไฟส่องแผ่นป้ายทะเบียนด้านท้าย แสงขาว

(ฎ) โคมไฟภายในรถ แสงขาว ให้แสงสว่างพอสมควร

(ฏ) โคมไฟแสดงความกว้างและความสูงของรถ สำหรับรถที่มีความกว้างเกินกว่าสองร้อยสิบเซนติเมตร แสงขาว

(ฐ) อุปกรณ์สะท้อนแสง ที่สามารถสะท้อนแสงให้เห็นได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน

 

ข้อ ๔  รถยนต์รับจ้างสามล้อและรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ต้องมีและใช้ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(๑) ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ตามข้อ ๓ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๒) (๑๓) (๑๔) (๑๖) (๑๙) (๒๐) (๒๒) (๒๓) (๒๕) และ (๒๖)

(๒) กันชน ติดตั้งที่ด้านท้าย ไม่มีส่วนแหลมคมและสามารถลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับรถเมื่อเกิดการชนด้วยความเร็วต่ำ อาจติดตั้งกันชนที่ด้านหน้าก็ได้

(๓) อุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณตามข้อ ๓ (๒๘) (ก) (ข) (ค) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) (ญ) (ฎ) และ (ฐ)

 

ข้อ ๕  รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีและใช้ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(๑) ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ตามข้อ ๓ (๑) (๒) (๔) (๖) (๗) (๘) (๑๐) (๑๒) (๑๓) (๑๔) (๒๐) (๒๒) (๒๓) (๒๕) และ (๒๖)

(๒) ระบบส่งกำลัง สามารถส่งกำลังรถขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย และมีอุปกรณ์ป้องกันผู้ขับรถและคนโดยสารไม่ให้ได้รับอันตรายจากการทำงาน เช่น ฝาครอบโซ่ หรือบังโซ่ เป็นต้น

(๓) ระบบห้ามล้อ สามารถลดความเร็วหรือหยุดรถที่วิ่งอยให้หยุดนิ่งได้อย่างปลอดภัย ติดตั้งในตำแหน่งที่ผู้ขับรถสามารถใช้การได้สะดวก

(๔) อุปกรณ์จับยึดสำหรับคนโดยสาร ติดตั้งในตำแหน่งที่คนโดยสารใช้การได้สะดวกและปลอดภัย

(๕) ขาตั้ง สามารถรองรับน้ำหนักของรถและทำให้รถตั้งอยู่กับพื้นราบขณะจอดได้อย่างปลอดภัย สามารถพับเก็บไปด้านหลังของรถ โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้งานตามปกติ เว้นแต่รถจักรยานยนต์ที่มีพ่วงข้าง

(๖) ที่พักเท้า ติดตั้งอยู่ด้านซ้ายและด้านขวาของรถ สามารถให้ผู้ขับรถและคนโดยสารวางเท้าได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

(๗) อุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณตามข้อ ๓ (๒๘) (ก) (ข) (ค) (ช) (ซ) (ญ) และ (ฐ)

 

ข้อ ๖  รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ต้องมีและใช้ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(๑) จุดต่อพ่วง ที่มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถยึดพ่วงข้างรถจักรยานยนต์ขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย

(๒) ระบบห้ามล้อ สามารถลดความเร็วหรือหยุดรถที่วิ่งอยู่ให้หยุดนิ่งได้อย่างปลอดภัย

กรณีที่ระบบห้ามล้อของรถจักรยานยนต์สามารถลดความเร็วหรือหยุดรถจักรยานยนต์ที่มีรถพ่วงข้างให้หยุดนิ่งอย่างปลอดภัย รถพ่วงข้างอาจไม่ต้องติดตั้งระบบห้ามล้อก็ได้

(๓) อุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณตามข้อ ๓ (๒๘) (ฉ) และ (ฐ)

 

ข้อ ๗  รถพ่วงต้องมีและใช้ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(๑) ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ตามข้อ ๓ (๑) (๗) (๙) (๑๒) (๑๓) และ (๑๔)

(๒) อุปกรณ์ต่อพ่วง ที่มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถลากจูงรถพ่วงขณะที่มีน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้อย่างปลอดภัย

(๓) ระบบห้ามล้อ สำหรับรถพ่วงที่มีน้ำหนักเกินกว่าเจ็ดร้อยห้าสิบกิโลกรัม

(ก) ระบบห้ามล้อหลัก สามารถลดความเร็วหรือหยุดรถที่วิ่งอยู่ให้หยุดนิ่งได้อย่างปลอดภัย ติดตั้งในตำแหน่งที่ผู้ขับรถสามารถใช้การได้สะดวก

(ข) ระบบห้ามล้อขณะจอด สามารถทำให้รถหยุดนิ่งในขณะจอดได้

(ค) ระบบห้ามล้อฉุกเฉิน สามารถลดความเร็วหรือหยุดรถที่วิ่งอยู่ให้หยุดนิ่งได้อย่างปลอดภัย เมื่อรถพ่วงหลุดจากการต่อพ่วง

(๔) กันชน ติดตั้งที่ด้านท้าย ไม่มีส่วนแหลมคมและไม่เป็นเหตุที่ก่ออันตรายเมื่อเกิดการชนขึ้น

(๕) อุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่อการชนด้านท้ายและด้านข้าง ติดตั้งให้สูงจากพื้นราบไม่เกินห้าสิบห้าเซนติเมตร ในกรณีที่ขอบล่างสุดของรถสูงจากพื้นราบไม่เกินห้าสิบห้าเซนติเมตร อาจไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่อการชนด้านท้ายและด้านข้างก็ได้

(๖) อุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณดังต่อไปนี้

(ก) อุปกรณ์ส่องสว่างและอุปกรณ์แสงสัญญาณตามข้อ ๓ (๒๘) (ค) (ง) (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ญ) และ (ฐ)

(ข) โคมไฟถอยหลัง สำหรับรถพ่วงที่มีน้ำหนักเกินกว่าเจ็ดร้อยห้าสิบกิโลกรัม
.
.
.
ข้อ ๑๑  การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติ คุณลักษณะ สมรรถนะ ระบบการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน การติดตั้ง ประเภท ขนาด หรือจำนวน ของส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

ข้อ ๑๒  เพื่อให้ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์เกิดความปลอดภัยสำหรับการใช้งานและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ให้อธิบดีมีอำนาจออกประกาศให้ส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ใด ๆ ต้องผ่านการรับรองหรือให้ความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดได้

ข้อ ๑๓  ส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ ต้องไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกินหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด

ข้อ ๑๔  สำหรับรถตามข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ที่มีส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์แตกต่างไปจากที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ หากเห็นว่ารถมีความมั่นคงแข็งแรงและมีความปลอดภัยในการใช้งาน อธิบดีอาจให้ความเห็นชอบได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด




หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: moodood ที่ 30, กรกฎาคม 2009, 06:59:04 AM
 >coooool >coooool >coooool


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: Candymothh ที่ 31, กรกฎาคม 2009, 10:11:34 PM
 :D



_________________________________________________________________________





>som ติดต่อผมได้ที่ lfc_atom2@hotmail.com

หรือ Liverpool-1.hi5.com  >som
[/color]


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: Bas_Zaa ที่ 01, สิงหาคม 2009, 11:20:50 PM
โอ้จอร์จ แดดประเทศไทยมันแรงมากนะ กันลมใสมากเบ้าตาคงดำพอดีคับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: rin ที่ 29, สิงหาคม 2009, 12:37:16 AM
ผมขอถามหมวดหน่อยคับ ว่ารถจักรยานยนต์ไม่ใส่ก้านเหล็กจับที่อยู่ช่วงท้ายเบาะรถ จะผิดข้อกฎหมายหรือเปล่าคับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: mayuct ที่ 29, สิงหาคม 2009, 01:01:06 AM
ผมขอถามหมวดหน่อยคับ ว่ารถจักรยานยนต์ไม่ใส่ก้านเหล็กจับที่อยู่ช่วงท้ายเบาะรถ จะผิดข้อกฎหมายหรือเปล่าคับ

ผิดครับ ข้อหา.อุปกรณ์ส่วนควบไม่สมบูรณ์ครับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: nola ที่ 29, สิงหาคม 2009, 01:09:54 AM
แจ่ม !goodjob


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: Bas_Zaa ที่ 07, ตุลาคม 2009, 03:18:55 AM
รบกวนสอมถามหมวดครับ
 1. ในกรณีที่เปลี่ยนกระจกข้างทั้งสองและนำมาติตตั้งที่คันบังคับ(แฮนด์) จะมีความผิดไหม( เพราะบางคันที่ติดกระจกเล็กจนมองไม่เห็น )
2. ผมโดนจราจรตั้งด่านเรียก ข้อหากระจกติดตั้งไม่ถูกวิธี ( ผมพับกระจกเข้ามา ไม่กางออก )


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: the cop20 ที่ 07, ตุลาคม 2009, 06:27:29 PM
รบกวนสอมถามหมวดครับ
 1. ในกรณีที่เปลี่ยนกระจกข้างทั้งสองและนำมาติตตั้งที่คันบังคับ(แฮนด์) จะมีความผิดไหม( เพราะบางคันที่ติดกระจกเล็กจนมองไม่เห็น )
2. ผมโดนจราจรตั้งด่านเรียก ข้อหากระจกติดตั้งไม่ถูกวิธี ( ผมพับกระจกเข้ามา ไม่กางออก )

พรบ.จราจรทางบก.พ.ศ.2522
มาตรา ๖  ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตราย หรืออาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้ คนโดยสารหรือประชาชนมาใช้ในทางเดินรถ

รถที่ใช้ในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องจัดให้มีเครื่องยนต์ เครื่องอุปกรณ์และหรือส่วนควบที่ครบถ้วนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่ง กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน กฎหมายว่าด้วยรถลาก หรือกฎหมายว่าด้วยรถจ้าง และใช้การได้ดี
สภาพของรถที่อาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยตามวรรคหนึ่งและวิธีการทดสอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

นำกระจกขนาดเล็กมาติดตั้งตรงแฮนด์ของCBR ผมว่ายังไงก็ใช้กระจกนั้นมองด้านหลังไม่เห็นแน่ มันก็หมายความว่า ส่วนควบที่ติดมานั้นไม่สามารถใช้การได้ดีตามวัตถุประสงค์ของมัน ฉะนั้นไม่ใช่ว่าติดกระจกแล้วจะไม่ถูกจับนะครับ พวกที่ติดกระจกแล้วพับกระจกเข้ามา แบบว่าไม่รู้จะติดไว้ทำไมเนี่ย ก็มีโอกาสถูกจับได้เหมือนกัน ถ้าเจอเจ้าหน้าที่ที่เข้มงวด และการที่ไม่มีกระจกมองข้างหรือมีแต่ใช้การไม่ได้เนี่ย มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นสูงนะครับ อยากจะฝากเรื่องนี้ไว้เหมือนกัน





หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: lucifer5377 ที่ 30, มกราคม 2010, 05:22:40 AM
ผมเปิดดูไม่ได้อะครับช่วยทีครับ อยากใส่เยโยง ผมยังโดนจับอยู่เลยครับ
http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01&linkID=headLaw (http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ร&lawCode=ร01&linkID=headLaw)


เกียร์โยง กับ คอท่อเลส ไม่มีนี่นา อืม......ปริ๊นหน้านี้ติดตัวไว้ดีกว่าเวลาโดนจับเปิดให้อ่านซะ จะได้เลิกจับ


หัวข้อ: Re: กฏกระทรวงที่ว่าด้วย ส่วนควบของรถจักรยานยนต์
เริ่มหัวข้อโดย: pagpaomc ที่ 19, พฤษภาคม 2011, 07:17:17 PM
 >coooool <%6