CBRsCLUB
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 



หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำมันเบรก dot ต่างๆ  (อ่าน 14875 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
konraikar01
I'm CBRsCLUB
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 696


konraikar_raikar@hotmail.com
อีเมล์
« เมื่อ: 11, มกราคม 2012, 01:49:25 AM »

กำลังหาความรู้เรื่องน้ำมันเบรกอยู่ไปเจอมา แน่นพอสมควร เผื่อพี่ๆน้องๆสงสัยเหมือนผม

(ไม่ทราบชื่อคนลง แต่ เครดิต จาบเว็ป http://www.civicef.com  )

หากซ้ำก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

อาจจะยาวไปหน่อย...
บางข้อมูลอาจซ่ำกัน...ลองอ่านดูกันครับ...กระจ่าง

ในขณะที่เราเบรค ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างผ้าเบรคกับจานหรือดุมล้อจะถ่ายเทผ่านก้านดันผ้าเบรคเข้าสู่ลูกสูบและน้ำมันเบรค เมื่อเราต้องเหยียบเบรคอย่างแรงกระทันหันหรือเหยียบเบรคอยู่บ่อยๆ ภายใต้ความเร็วสูง ความร้อนที่ถ่ายเทสู่น้ำมันเบรคจะมีปริมาณมากและอาจระบายสู่ส่วนอื่นไม่ทัน ทำให้น้ำมันร้อนขึ้นมาก หากน้ำมันเบรคร้อนจนถึงจุดเดือดของมัน มันก็จะระเหยกลายเป็นไอในกระบอกสูบเบรคที่ล้อทันที และเมื่อระบายความร้อนออกไปได้ ไอก็จะยุบตัวเป็นของเหลว ในช่วงนี้จะไม่มีแรงดันที่จะไปกระทำต่อลูกสูบเบรคให้ไปดันผ้าเบรค ทำให้เกิดอาการเหมือนไม่มีเบรคและเบรคไม่อยู่ได้ ดังนั้นจุดเดือดของน้ำมันเบรคจึงมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการเบรคมากดังกล่าว

 โดยปกติน้ำมันเบรคเป็นสารที่ดูดซับความชื้นจากอากาศได้ และสามารถผสมตัวเข้ากับน้ำมันเนื้อเดียวกัน เมื่อมีความชื้นปะปนอยู่จุดเดือดของน้ำมันเบรคจะลดต่ำลง น้ำมันเบรคใดที่มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นได้น้อย และเมื่อดูดซับความชื้นแล้วจุดเดือดลดต่ำลงไม่มาก จะเป็นน้ำมันเบรคที่มีคุณภาพสูงเพราะในการใช้งานโอกาสที่ความชื้นจะเล็ดลอดสู่น้ำมันเบรคในระบบมีได้มากมายหลายทาง เช่น ความชื้นเข้าโดยการหายใจเข้าออกของระบบน้ำมันเบรคตรงฝากระปุกเบรค น้ำจากการอัดฉีดล้างเครื่องรถสามารถเข้าสู่กระปุกน้ำมันเบรคได้หากไม่ระมัดระวังเมื่อขับรถลุยน้ำ และยางกันฝุ่นสึกหรือไม่รัดแน่น น้ำก็สามารถเข้าสู่น้ำมันเบรคได้ตรงลูกสูบเบรคที่ล้อ ดังนั้นเมื่อใช้งานไปน้ำมันเบรคก็จะชื้นมากขึ้นเรื่อยๆ และน้ำมันเบรคใดที่ขึ้นช้ากว่าและจุดเดือดเมื่อชื้นสูงกว่าก็จะยังคงรักษาสมรรถนะการเบรคไว้ได้

ผลต่อยางและส่วนโลหะอื่นในระบบเบรคก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะบ่งถึงคุณภาพน้ำมันเบรค เพราะจะมีผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของลูกยางแม่ปั๊ม/ลูกปั๊มเบรค ซึ่งก็จะมีผลถึงประสิทธิภาพการเบรคเช่นกันน้ำมันเบรคที่มีคุณภาพสูงต้องไม่ทำให้ลูกยางแม่ปั๊มเบรคคลัทซ์เสียเร็ว และต้องไม่กัดกร่อนส่วนโลหะอาจทำให้มีเศษสนิมโลหะหลุดร่อนออกมาอยู่ในน้ำมันเบรค และจะทำให้ลูกยางปั๊มเบรคเป็นรอยขีดข่วนเกิดการรั่วและเสียแรงดัน เบรคไม่อยู่ หรือหากรั่วข้างเดียวก็จะเบรคแล้วปัดได้ ในมาตรฐานเกี่ยวกับน้ำมันเบรคก็ได้มีการกำหนดผลต่อยางและการกัดกร่อนต่อชิ้นส่วนโลหะไว้ด้วย

สมาคมวิศวกรยานยนต์ในอเมริกา (SAE) และกรมการขนส่งของอเมริกา (Department of Transporttation - DOT) และสมาคมกำหนดมาตรฐานระหว่างชาติ (ISO) ต่างก็ได้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเบรคที่ใช้ในระบบเบรคของยานพาหนะซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้กันทั่วไป มาตรฐานล่าสุดในขณะนี้ (1982) ของ SAE คือ SAE 1703 Jan.'80 ที่ได้แก้ไขปรับปรุงจากมาตรฐาน SAE J1703f ซึ่งออกในปี 1978 ส่วนของ DOT คือมาตรฐาน U.S.Federal Motor Vehicle Safety Standard ( FMVSS) No.116 DOT3,DOT4 และDOT5 ( DOT5 เป็นมาตรฐานน้ำมันเบรคประเภทน้ำมันซิลิโคนไม่นิยมใช้งานในรถยนต์) มาตรฐานของ ISO คือ ISO 4925 - 1978 มาตรฐานต่างๆ ดังกล่าว ได้กำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของน้ำมันเบรคในยานยนต์ไว้หลายประการ คุณสมบัติที่สำคัญๆ ได้เปรียบเทียบไว้ในตารางแนบพร้อมกับค่า Typical Test Figure ของน้ำมันเบรคเชลล์เกรดต่างๆ

 คุณสมบัติที่สำคัญของน้ำมันเบรคที่มีผลต่อสมรรถนะการเบรคก็คือ จุดเดือดเมื่อแห้ง เมื่อชื้นผลต่อยางแม่ปั๊มและลูกสูบเบรค และต่อส่วนต่างๆของระบบเบรค
 ในมาตรฐานทั้ง SAEJ1703 และ U.S.FMVSS 116 DOT3, DOT4 และ ISO 4925 - 1978 ได้กำหนดคุณสมบัติด้านจุดเดือดเมื่อแห้งและเมื่อชื้นเอาไว้โดยที่น้ำมันเบรคที่ดีจะต้องมีจุดเดือดสูงเมื่อทั้งแห้งและชื้น

………………………………………………………………………………………

DOT 5 นั้นเป็น Silicone base ซึ่งนอกจากจะ compress ได้ ทำให้รู้สึก"ยวบๆ"แล้ว คุณสมบัติอีกกย่างคือจะไม่ผสมกับน้ำ ฟังดูดีแต่ถ้ามีน้ำในระบบ(หรือความชื้นเกิน 3%) แล้วน้ำมันเบรคร้อนถึงจุดเดือด น้ำในระบบจะกลายสภาพเป็นไอน้ำ และเนื่องจากระบบเบรคนั้นเป็นระบบปิด ไอน้ำนั้นจะทำให้เกิดความดันในระบบ ทำให้เบรคติดหรือเลียจานได้

DOT 3, 4, 5.1 นั้นเป็น Glycol base แตกต่างกันที่จุดเดือด แต่จุดเดือดที่ว่านั้นมีสองอย่างคือ Dry boiling point (จุดเดือดเมื่อไม่มีความชื้น) และ Wet boiling point (จุดเดือดที่มความชื้นมากกว่า 3%) สำหรับรถแข่งซึ่งเปลี่ยนน้ำมันเบรคกันเป็นว่าเล่น จะสนใจ Dry boiling point เพราะไม่เคยมีความชื้นในระบบ ถ้ารถใช้บนถนนประจำวัน ต้องสนใจ Wet boiling point เพราะมีความชื้นในระบบประจำ

รถบ้านนั้น นานๆจะเจอปัญหาน้ำมันเบรคเดือดซักครั้งในชีวิต ยกเว้นว่าชอบใช้เบรคกันหนักๆ ซึ่งบอกตรงๆว่าหาคนใช้เบรคหนักๆขนาดน้ำมันเบรคเดือดนั้นยากกว่างมเข็มในมหาสมุด มหาดินสอ มหายางลบ อีก

…………………………………………………………………….

จุดเดือดน้ำมันเบรคมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการเบรคอย่างไร?   
 
ในขณะที่เราเบรค ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างผ้าเบรคกับจานหรือดุมล้อจะถ่ายเทผ่าน ก้านดันผ้าเบรคเข้าสู่ลูกสูบและน้ำมันเบรค เมื่อเราต้องเหยียบเบรคอย่างแรงกระทันหันหรือเหยียบเบรคอยู่บ่อยๆ ภายใต้ความเร็วสูง ความร้อนที่ถ่ายเทสู่น้ำมันเบรคจะมีปริมาณมากและอาจระบายสู่ส่วนอื่นไม่ทัน ทำให้น้ำมันร้อนขึ้นมาก หากน้ำมันเบรคร้อนจนถึงจุดเดือดของมันมันก็จะระเหยกลายเป็นไอในกระบอกสูบเบรคที่ล้อทันที
และเมื่อระบายความร้อนออกไปได้ ไอก็จะยุบตัวเป็นของเหลว ในช่วงนี้จะไม่มีแรงดันที่จะไปกระทำต่อลูกสูบเบรคให้ไปดันผ้าเบรค ทำให้เกิดอาการเหมือนไม่มีเบรคและเบรคไม่อยู่ได้ ดังนั้นจุดเดือดของน้ำมันเบรคจึงมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการเบรคมากดัง กล่าว

โดยปกติน้ำมันเบรคเป็นสารที่ดูดซับความชื้นจากอากาศ ได้ และสามารถผสมตัวเข้ากับน้ำมันเนื้อเดียวกัน เมื่อมีความชื้นปะปนอยู่จุดเดือดของน้ำมันเบรคจะลดต่ำลง น้ำมันเบรคใดที่มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นได้น้อยและเมื่อดูดซับความชื้นแล้วจุดเดือดลดต่ำลงไม่มากจะเป็นน้ำมันเบรคที่มีคุณภาพสูงเพราะในการใช้งานโอกาสที่ความชื้นจะเล็ดลอด สู่น้ำมันเบรคในระบบมีได้มากมายหลายทาง เช่น ความชื้นเข้าโดยการหายใจเข้าออก
ของระบบน้ำมันเบรคตรงฝากระปุกเบรค น้ำจากการอัดฉีดล้างเครื่องรถสามารถเข้าสู่กระปุกน้ำมันเบรคได้หากไม่ระมัด ระวังเมื่อขับรถลุยน้ำและยางกันฝุ่นสึกหรือไม่รัดแน่น น้ำก็สามารถเข้าสู่น้ำมันเบรคได้ตรงลูกสูบเบรคที่ล้อ ดังนั้นเมื่อใช้งานไปน้ำมันเบรคก็จะชื้นมากขึ้นเรื่อยๆ และน้ำมันเบรคใดที่ขึ้นช้ากว่าและจุดเดือดเมื่อชื้นสูงกว่าก็จะยังคงรักษา สมรรถนะการเบรคไว้ได้

ผลต่อยางและส่วนโลหะอื่นในระบบเบรคก็เป็นสิ่งที่ สำคัญที่จะบ่งถึงคุณภาพน้ำมันเบรค เพราะจะมีผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของลูกยางแม่ปั๊ม/ลูกปั๊มเบรค ซึ่งก็จะมีผลถึงประสิทธิภาพการเบรคเช่นกันน้ำมันเบรคที่มีคุณภาพสูงต้องไม่ ทำให้ลูกยางแม่ปั๊มเบรคคลัทซ์เสียเร็ว และต้องไม่กัดกร่อนส่วนโลหะอาจทำให้มีเศษสนิมโลหะหลุดร่อนออกมาอยู่ในน้ำมัน เบรค และจะทำให้ลูกยางปั๊มเบรคเป็นรอยขีดข่วนเกิดการรั่วและเสียแรงดัน
เบรคไม่อยู่ หรือหากรั่วข้างเดียวก็จะเบรคแล้วปัดได้ ในมาตรฐานเกี่ยวกับน้ำมันเบรคก็ได้มีการกำหนดผลต่อยางและการกัดกร่อนต่อชิ้น ส่วนโลหะไว้ด้วย

น้ำมันเบรกมีหน้าที่ในการเป็นตัวกลางส่งแรงดันจากแม่ ปั๊มเบรกตัวบนไปยังลูกสูบเบรก น้ำมันเบรกที่ดีจะต้องมีจุดเดือดสูง เพื่อไม่ให้เกิดอาการ (Vapour Lock) คือของเหลวในระบบเบรกร้อนจัดจนกลายเป็นไอ ไม่สามารถถ่ายเทแรงดันได้ตามปกติ น้ำมันเบรกที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจะต้องได้รับการรับรองตามมาตรา ฐาน
FMVSS 116 ซึ่งแบ่งตามจุดเดือดและจุดเดือดชื้นซึ่งมีชนิด DOT 3, DOT 4 และ DOT 5 การเปลี่ยนถ่ายหรือการเติมน้ำมันเบรค ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรคทุก 1 ปี เพื่อไล่ความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรกออกจากระบบ และยังเป็นการป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมที่เกิดจากความชื้น ซึ่งจะทำให้ลูกยางเบรกรั่วได้ง่าย

ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ใช้รถยนต์โดยทั่วไปมักจะมองข้าม เพราะถือว่าน้ำมันเบรกยังไม่รั่วก็ไม่ต้องทำอะไรทั้งที่ค่าใช้จ่ายไม่ก ี่ร้อยบาทและทำได้ตามร้านเบรกทั่วไป โดยทั่วไปผู้ผลิตรถยนต์จะกำหนดให้ใช้น้ำมันเบรค
ชนิด DOT 3 หรือ DOT 4 แต่ถ้าผู้ใช้รถต้องการจะใช้เป็น DOT 4 หรือ DOT 5 ก็ได้ เพราะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ในระบบเบรค เป็นแต่เพียงว่าราคาของน้ำมันเบรกจะแพงกว่า DOT 3
บันทึกการเข้า


Ming_S
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 191



« ตอบ #1 เมื่อ: 11, มกราคม 2012, 03:39:10 AM »

 ;)
บันทึกการเข้า
Iruga
ตามมาเร็ว เดี๋ยวจะพาไปออกทริป
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 389



อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 12, มกราคม 2012, 11:35:14 AM »

 !goodjob

ขอเสริมนิดนึงครับ DOT 3 จะมีจุดเดือดต่ำกว่า DOT 4  ส่วน DOT 5 จะไม่ขอพูดถึง เพราะผมไม่รู้รายละเอียดมากนัก 5 5+

การเลือกใช้งานต้องดูว่าทางผู้ผลิตกำหนดให้ใช้ DOT 3 หรือ DOT 4  โดยดูจากคู่มือหรือดูที่ฝาปิดกระปุกน้ำมันเบรคก็ได้ ซึ่ง

CBR ของเราๆ ท่านๆ จะระบุว่า Use DOT 3 or DOT 4 นั่นคือสามารถใช้ได้ทั้ง 2 อย่าง และนอกจากนี้ยังต้องดูที่ลักษณะการ

ขับขี่ด้วยว่าเราเบรคลึกและเบรคแรงแค่ไหน ซึ่งการใช้งานโดยทั่วไปคงไม่มีใครเบรคจนน้ำมันเบรคเดือดเป็นไอแน่ๆ ดังนั้นควรใช้

น้ำมันเบรค DOT 3  ก็เพียงพอแล้ว ประหยัดเงินด้วย อีกอย่างถ้าเราไม่ได้อัพเกรดระบบเบรค และไม่ได้ทำเครื่องมา การใช้ DOT 4

จะเป็นการใช้ที่ไม่คุ้มค่าเพราะไม่ได้ใช้งานมันอย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ถ้าไม่มี DOT 3 ขาย CBR ของเราสามารถใช้ DOT 4 แทนก็ได้

แต่การเปลี่ยนน้ำมันเบรคที่ต่างเกรดกันเราต้องไล่และทำความสะอาดน้ำมันเบรคเดิมออกให้หมดก่อนที่จะเติมตัวใหม่ลงไป.....


รถแรงเบรคหนักและบ่อย ใช้ในสนามก็ DOT 4  รถใช้งานทั่วไปไม่ได้เบรคหนักบ่อยๆ ใช้ DOT 3 ก็เพียงพอแล้วครับ
บันทึกการเข้า

konraikar01
I'm CBRsCLUB
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 696


konraikar_raikar@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 13, มกราคม 2012, 01:47:51 AM »

!goodjob

ขอเสริมนิดนึงครับ DOT 3 จะมีจุดเดือดต่ำกว่า DOT 4  ส่วน DOT 5 จะไม่ขอพูดถึง เพราะผมไม่รู้รายละเอียดมากนัก 5 5+

การเลือกใช้งานต้องดูว่าทางผู้ผลิตกำหนดให้ใช้ DOT 3 หรือ DOT 4  โดยดูจากคู่มือหรือดูที่ฝาปิดกระปุกน้ำมันเบรคก็ได้ ซึ่ง

CBR ของเราๆ ท่านๆ จะระบุว่า Use DOT 3 or DOT 4 นั่นคือสามารถใช้ได้ทั้ง 2 อย่าง และนอกจากนี้ยังต้องดูที่ลักษณะการ

ขับขี่ด้วยว่าเราเบรคลึกและเบรคแรงแค่ไหน ซึ่งการใช้งานโดยทั่วไปคงไม่มีใครเบรคจนน้ำมันเบรคเดือดเป็นไอแน่ๆ ดังนั้นควรใช้

น้ำมันเบรค DOT 3  ก็เพียงพอแล้ว ประหยัดเงินด้วย อีกอย่างถ้าเราไม่ได้อัพเกรดระบบเบรค และไม่ได้ทำเครื่องมา การใช้ DOT 4

จะเป็นการใช้ที่ไม่คุ้มค่าเพราะไม่ได้ใช้งานมันอย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ถ้าไม่มี DOT 3 ขาย CBR ของเราสามารถใช้ DOT 4 แทนก็ได้

แต่การเปลี่ยนน้ำมันเบรคที่ต่างเกรดกันเราต้องไล่และทำความสะอาดน้ำมันเบรคเดิมออกให้หมดก่อนที่จะเติมตัวใหม่ลงไป.....


รถแรงเบรคหนักและบ่อย ใช้ในสนามก็ DOT 4  รถใช้งานทั่วไปไม่ได้เบรคหนักบ่อยๆ ใช้ DOT 3 ก็เพียงพอแล้วครับ

 >coooool >coooool >coooool >coooool >coooool
บันทึกการเข้า

chaningun
ขออภัย...มือใหม่หัดขับ
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11



อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 13, มกราคม 2012, 08:07:23 PM »

up
บันทึกการเข้า

kgpg00
เพิ่งเริ่มหัดขับ
ตามมาเร็ว เดี๋ยวจะพาไปออกทริป
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 481



« ตอบ #5 เมื่อ: 28, มกราคม 2012, 06:38:26 AM »

มีความรู้เพิ่มอีกแล้วครับท่าน  !goodjob
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  



หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 26 คำสั่ง