CBRsCLUB
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 



หน้า: [1] 2 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เรื่องหลอดไฟ ไฟหน้า ของ CBR150 เรา ๆ ทำไม่หลายคนจึงมองว่ามันไม่สว่างพอ  (อ่าน 36634 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
muanchon
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 248


« เมื่อ: 29, พฤศจิกายน 2007, 11:53:51 PM »

สำหรับไฟหน้ารถ CBR 150 นั้น หลาย ๆ ท่านเมื่อได้ใช้ในยามเวลาค่ำคืนนั้น ในขณะท่านได้ใช้ความเร็วสูงปรากฏว่ามันช่างไม่ค่อยสว่างเพียงพอต่อความเร็วสูง ๆ ยิ่งนัก
เพราะฉะนั้นหลายท่านจึงได้เปลี่ยนไปใช้หลอด Halogen แทน ซึ่งก็ได้ผลดีอย่างน่าพอใจ ซึ่งผมพอจะสรุปได้ว่าหลอดที่ใช้ได้ดีกับ CBR150 เพื่อเพิ่มทัศนะวิสัยที่ดีขึ้น
ในยามค่ำคืนนั้นคือ
1. หลอดไฟหน้า Halogen Champion  ขนาด 25/25W
2. หลอดไฟหน้า  Osram ขนาด 25/25W
เพียงแค่ปรับมุมไฟให้เหมาะสม ก็เพียงพอแล้วสำหรับการเพิ่มทัศนะวิสัยที่ดี ซึ่งทั้งสองยี่ห้อที่กล่าวถึงไม่มีอันตรายต่อดวงโคมไฟ ราคาไม่แพง แต่ได้มาตราฐานโรงงาน
ซึ่งดีกว่าหลอดชุบสี ที่มักอ้างตัวเองว่า เป็น หลอด HID หลอด Xenon หรืออะไรอีกมากมาย ซึ่งบางคงคิดว่าใส่หลอดพวกนี้ไป สว่างแยงตา ดีเหลือเกิน ครับมันดูเหมือนสว่าง
แต่ถ้าท่านพบกับสถานการณ์คือ
1. ฝนตก
2.ฝุ่นหรือ หมอกลงเยอะ
ท่านจะรู้ได้เลยว่าหลอดไฟที่สว่าง ๆ แยงตานั้นมันแย่มาก ๆ  ผมก็เป็นคนหนึ่งซึ่งลองผิดลองถูกกับไอ้เจ้าหลอดพวกนี้
ซึ่งปัจจุบันผมไม่ได้มีความกังวลกับหลอดไฟ หรือ ไฟหน้าของ CBR แล้วเพราะผมได้เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบกลมแล้ว ซึ่งเป็น Style Naked ซึ่งผมชอบแต่งรถเป็นแนวนี้

และแล้วก็ได้ข้อสรุปอีกอย่างว่า CBR150 นั้นออกแบบโคมรวมแสงได้ไม่ดีนักเพราะให้ทัศนะวิศัยที่ไม่ดีพอ ถ้าท่านได้วิ่งทางมืดสนิทเป็นประจำท่านมีอันต้องเปลี่ยนหลอดไฟแน่ ๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30, พฤศจิกายน 2007, 11:55:11 PM โดย muanchon » บันทึกการเข้า

muanchon
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 248


« ตอบ #1 เมื่อ: 29, พฤศจิกายน 2007, 11:54:52 PM »

ต่อไปผมขอคัดลอกบทความของคุณ แมวเหมียวพุงป่อง ของสมาชิกใน pantip.com เห็นว่ามีประโยชน์จึงคัดมาให้อ่านกัน
http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/V3793028/V3793028.html

อธิบายเรื่องหลอดไฟZENON  ที่คุณซื้อมาหลอดล่ะ100กว่าบาท เนี้ย ที่จิงแล้วคือ"หลอด ฮาโดรเจน"ครับ
หลอดฮาโดรเจน เนี้ยมันจะร้อนกว่าหลอด H3,H4 แบบปกติที่ใช้กัน ถ้าใช้ไปนานๆโดยไม่มีดีเลย์ จะมีอาการอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ส่วน หลอดZENON ของแท้ ราคาหลักหมื่น ขึ้นไป จะมีความร้อนน้อยกว่าหลอกปกติ ในการติดตั้ง จะต้องมีกล่องรีเลย์โดยเฉพาะของหลอดZENONติดตั้งไว้ด้วย
ส่วนความสว่าง หลอดZENON จะสว่างกว่ามากครับว่ากันที่10000kเลยทีเดียว

คนอื่นที่อ่านต่อ ไม่มีใครเห็นว่ามันผิด ...
ทั้งๆที่ผมเห็นเป็นอันตรายอย่างสูงมากด้วย

1. หลอด xenon คือ หลอดที่ทำงานเหมือนไฟแฟลชถ่ายรูป แสงสว่างเกิดจากการอาร์คของไฟฟ้าข้ามขั้ว (ขั้วห่างกัน 5 mm) ผ่านแกสแรงดันสูง (2 bar)

 เทอร์โบอัดหนักๆ อัดกันที่แรงดัน 1.2-1.5 bar
 พวกแข่งขันชิงสาว ชิงถ้วยรางวัลจะอัดกันที่ 2.4-2.5 bar ก่อนเครื่องกระจาย

2. แกสในหลอด xenon เป็นแกสเฉื่อยชื่อ xenon (ถามเพื่อนๆที่เรียนเคมี จะรู้จักกันทุกคน) และมีแกสอื่นๆปนหลายอย่าง

3. ไฟที่ใช้จุดหลอด xenon ให้ทำงาน มีแรงดัน 12,000-18,000 volts! (แรงดัน สูงกว่าไฟที่อาร์คที่ขั้วหัวเทียนเสียอีก) เพราะแกสหรืออากาศปกติ ก็มีความต้านทานไฟฟ้าสูงมากๆ (เกือบอินฟินิตี้ .. ร้อยๆล้านโอห์มเลย) ยิ่งแกสในหลอด xenon ของเรา มีแรงดันสูง ยิ่งต้องใช้ไฟแรงสูงให้มันกระโดดข้ามได้
 ที่เรียกๆ กัน (ผิดๆ) ว่ากล่องรีเลย์ หรือ (เรียกถูกต้องว่า)กล่องบัลลาสท์ มีหน้าที่นี้แหละ ... แปลงแรงดันจากไฟแบต 12 volts ให้สูงถึงเกือบสองหมื่นโวลท์
 แต่เมื่ออาร์คเกิดแล้ว กล่องจะต้องลดแรงดันเหลือ 100-200 volts เพราะลำอาร์ค มีความต้านทานต่ำ (100 โอห์ม)
 เมื่อลำอาร์คเสถียร ให้แสงสว่างเต็มที่ ความต้านทานจะลดลงอีก กล่องจะต้องลดแรงดันลงอีก ไม่อย่างนั้น ไหม้แน่นอน

 การทำงานทุกอย่างที่ว่ามา ต้องเสร็จภายใน 1-2 วินาที
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01, ธันวาคม 2007, 12:00:59 AM โดย muanchon » บันทึกการเข้า
muanchon
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 248


« ตอบ #2 เมื่อ: 29, พฤศจิกายน 2007, 11:55:51 PM »

 กล่องบัลลาสท์ดีๆ ถึงได้แพงระเบิด

    คำเตือน คำเตือน คำเตือน   

แรงดันไฟฟ้าในกล่องบัลลาสท์ เป็นไฟฟ้าแรงดันสูงมาก (20,000 volts) และมีพลังงานสูงมาก (200-300 joules) สามารถฆ่าคนถึงตายได้

4. เมื่อหลอดสว่างเต็มที่ แรงดันในหลอดจะสูงขึ้น 30-40 bar
 อุณหภูมิในหลอด จะสูงประมาณ 1200 องศาซี
 ความร้อนนี้ ลดลงไม่ได้ เพราะถ้าลดลง ลำอาร์คซึ่งเป็นพลาสมา จะดับทันที .. ถึงทำให้หลอด(ที่ใช้ในรถยนต์)มีขนาดใหญ่มากไม่ได้
 หลอดแบบนี้ ถ้าเป็นหลอดใหญ่ๆ จะใช้เป็นไฟส่องสว่างถนน (ไฟแสงจันทร์ ไฟโซเดียม ฯลฯ)

 หลอดถึงต้องมีซีลสองชั้น .. กันระเบิด

 หลอดธรรมดาๆ มีอุณหภูมิภายในแถวๆ 700 องศาซี
 และอุณหภูมิที่ผิวหลอดแก้ว ร้อยกว่าองศาเท่านั้น

4. ความสว่างของแสงที่ออก หน่วยวัดคือ L (ลูเมนส์ LUMENS) ไม่ใช่ K (Kelvin)
 K เป็นหน่วยวัดเปรียบเทียบ ว่าที่สว่างๆนั้น ให้สีเสมือนของที่กำลังร้อนที่กี่องศา K
 เสมือนร้อนกี่ K นะ
 ไม่ใช่ร้อนเท่านั้นๆ K จริง


5. ถ้าไปดู website ของ บ.ที่ผลิตหลอด xenon ระดับยักษ์ใหญ่ จะพบความจริงที่น่าตกใจ ที่เหมือนกันหมด ทุกบริษัทพูดเหมือนกันหมด คือ

  หลอดซีนอนในรถยนต์ ยิ่งมีองศาสีสูง (K ยิ่งสูง) ความสว่าง (L) ยิ่งน้อย


  หลอด 10,000K สว่างไม่ถึง 1/2 ของหลอด 5,000K
  xenon ของ BMW/MB (frost ice) มีค่าองศาสี แค่ 4300K เท่านั้น ... แต่ความสว่างแถวๆ 3,000-3,500L

 หลอดโรงงานยี่ห้อดังๆ มีองศาสีสูงสุด 6000K

 พวก 10,000-12,000K ... บ.ยักษ์ใหญ่ ไม่กล้าเอาผลิตใต้ชื่อตัวเอง ... กลัวโดนฟ้อง เพราะความสว่างแค่ 1,600-1,800L เท่านั้น

6. หลอดไฟมีไส้ธรรมดาๆ จะมีความสว่าง 1,200-1,500L และให้อุณหภูมิสีอยู่ที่ 2,800-3,200K
 หลอด superbright จะสว่าง 1,500-1,800L และให้สีเสมือนมีอุณหภูมิ 3,300-3,500K

 หลอดไต้หวันราคาถูกๆ จะสว่าง 1,800-2,000L โดยการเพิ่มขนาดของไส้หลอด ความต้านทานไส้ลดลง กินกระแสไฟฟ้ามากขึ้นเป็น 100-110w แทนที่จะเป็น 50/55w เหมือนหลอดธรรมดาๆ ... ไฟรถมีแรงดัน 12v หมายถึงกระแสไฟฟ้าไหลเข้าหลอด 10A แทนที่จะเป็น 5A

 จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามากขึ้น (10A) จะทำให้ขั้วหลอดที่ไม่ดี (มีความต้านทาน) ร้อนจัดจนขั้วละลายได้

 จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที ... พลังงานไฟฟ้า ไม่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแสงสว่างทั้งหมด แต่กลายเป็นพลังงานความร้อน(สูญเปล่า)
 ความร้อนที่มากขึ้น เกินปกตินี้ จะทำให้ปรอทที่ฉาบไว้บนโคม ไหม้ หรือระเหย (หมอง)

 ความร้อนไส้หลอดที่มากเกิน จะทำให้ไส้ขาดเร็ว

7. หลอด xenon เก๊ (zenon, xenan ฯลฯ) เป็นหลอดมีไส้ธรรมดาๆ แต่ใช้สีเคลือบหลอด เพื่อให้แสงไฟที่ออก มีสีเสมือนกับว่า เป็นหลอด xenon แท้

 สีที่เคลือบ จะทำให้ความสว่างลดลง

 หลอด plasma blue ของ PIAA ราคาแพง เพราะผลิตโดยทำให้ตัวแก้วของหลอด มีสีน้ำเงินจางๆ (ผสม cobalt เข้าไปในเนื้อแก้ว)
 ความสว่างจึงลดลงน้อย ไม่เกิน 20%

 หลอดไต้หวัน หลอดจีนแดง หลอดโนเนม .. ใช้สีเคลือบราคาถูกๆ
 การที่ความสว่างจะลดลง 40-50% จึงไม่ใช่เรื่องแปลก
 ดูเผินๆ เหมือนหลอดสว่างขึ้น เพราะเวลากลางคืน ตาคนเราไวต่อแสงสีน้ำเงินน้อย พอเห็นแสงสีน้ำเงินจ้าๆ จึงหลอกตัวเองว่า เห็นแสงสว่างมากๆ
 ถ้าไม่หลอกตัวเอง จะพบว่า ตอนกลางคืน ตาของคนเร็ว ไวต่อแสงสีแดง มากกว่าสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่า
 นอกจากจะไวกว่าแล้ว ยังพร่ามัวเพราะแสงสีแดง น้อยกว่าแสงสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่าเช่นกัน

 การใช้ของเก๊ ที่ให้แสงสว่างน้อยลง ให้แสงสว่างที่เห็นไม่ค่อยชัด ให้แสงสว่างที่ทำให้ตาพร่ามัวง่าย
 โดยคิดว่า มันสว่างกว่า ชัดเจนกว่า
 อันตรายไหมหละ?   

8. หลอดไฟมีไส้ ทำงานโดยการเผาไส้หลอด (ด้วยกระแสไฟฟ้า) ให้ร้อนแดง ... ไส้หลอดจะระเหยออกไปบ้างเล็กน้อย
 ระเหยไปเคลือบที่ผิวหลอดด้านใน
 ใช้ไปนานๆ ไส้หลอดบางลง หลอดขาด
 หรือ ไส้หลอดยังไม่ทันบาง ไอโลหะเคลือบผิวหลอด จนแสงส่องผ่านน้อยลง (เหมือนฟิล์มปรอท)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30, พฤศจิกายน 2007, 04:01:27 PM โดย muanchon » บันทึกการเข้า
muanchon
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 248


« ตอบ #3 เมื่อ: 29, พฤศจิกายน 2007, 11:56:33 PM »

หลอดจึงบรรจุธาตุพวก halogen และแกสเฉื่อย ไว้เล็กน้อย
 เพื่อให้เกิด Halide cycle (กรุณาหาอ่านจาก google) ซึ่งทำให้กระบวนการที่ว่ามาข้างบน ไม่เกิดขึ้น

 แต่ถ้าไส้หลอดร้อนจัดเกินไป กระบวนการ halide cycle ทำงานไม่ทัน ... ไส้หลอดขาดพั้วะ!

 หลอด 100/110w ... สว่างจริง ขาดเร็วจริง

 เวลาเราเปลี่ยนหลอดไฟหน้า เราเปลี่ยนสองข้าง (ก็อยากแต่งซิ่งนี่นา หรือใครเปลี่ยนข้างนึง 50w อีกข้าง 100w?)

 เวลาขาด .. มันจะขาดไล่เลี่ยกันมาก
 เพราะอะไร?

 ถ้าใส่ relay แยก หลอดใครหลอดมัน ก็แล้วไป

 แต่ถ้าไม่ใส่ .. จะมีแรงดันตกคร่อมสูญหาย ในระบบสายไฟส่องสว่าง
 V = IR
 ตอนที่หลอด 2 หลอดทำงาน V ตกคร่อม = (I1 + I2) * R
 เนื่องจาก I1 = I2 ฉนั้นแรงดันตกคร่อมสูญหาย = 2*I*R
 แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - 2*I*R

 แต่เมื่อหลอดหนึ่งขาด ไฟตกคร่อมจะเหลือ I*R
 แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - I*R

 หลอดที่ปริ่มๆจะขาด โดนแรงดันเพิ่ม ถึงจะอีกนิดก็เหอะ ... ขาดไหมหละ?

 ถ้าใครเคยหลอดไฟหน้าขาดคู่พร้อมกัน ตอนขับที่ 90 กม/ชม. ... คุณจะขนหัวลุกยิ่งกว่าโดนผีหลอก
 ถ้าไม่กลายเป็นผีไปเสียก่อน ... 
บันทึกการเข้า
muanchon
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 248


« ตอบ #4 เมื่อ: 29, พฤศจิกายน 2007, 11:57:29 PM »

คำถามบ่อย & คำตอบไม่บ่อย
1.ค่า K ของหลอดไฟมีผลต่อความสว่างและสีของแสงที่ออกมาไหม
............ มีผล ค่า K คือ อุณหภูมิสี (ไม่ใช่อุณหภูมิของไส้หลอด)ของแสงที่ออกมา โดยเทียบกับสีของของที่เผาจนร้อน จนอุณหภูมิที่ระบุ (กี่ K ก็ว่าไป)
หลอด 5000k คือ หลอดที่มีสีสันของแสงไฟ เหมือนของที่เผาจนร้อน 5500 องศา Kelvin
เน้น ... เน้น .... เน้น ...
สีสัน ไม่ใช่ความสว่างและ ...
K ยิ่งมาก ดูเหมือนสว่างมากขึ้น แต่จริงๆแล้ว สว่างน้อยลง
ยิ่งหลอด xenon ยิ่งเห็นผลชัด หลอด 4100k ให้ความสว่างประมาณ 3500 lumens ในขณะที่หลอด 10,000-12,000 ให้ความสว่างไม่เกิน 2000 lumens
บ.ผลิตหลอด xenon ยี่ห้อดีๆ จะไม่ผลิตหลอดที่สีไฟเกิน 5500k โดยใช้ชื่อของบริษัทเองครับ
หลอดมีไส้ทั่วๆไป ให้ความสว่าง 1200-1800 lumens


2. ค่า K มีผลต่อความร้อนภายในโคมไฟหน้าไหม
......................ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอดความร้อน และความสว่าง ขึ้นกับจำนวนวัตต์ของหลอด

3.ถ้า ค่า K มากๆจะทำให้โคมไฟหน้าขุ่นหรือละลายไหม (ถ้าเป็นโคมพลาสติก)
..........................แล้วสรุปว่าค่า K คืออารัย? ประโยชน์คืออะไร? ยิ่งมาก ยิ่งทำไมหรือ?
ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอด ฉะนั้น จะขุ่นหรือไม่ขุ่น ไม่ได้เกี่ยวกับค่า K
 K ยิ่งสูง ก็แค่สวย และที่เข้าใจผิดกันมากๆๆ คือ ค่า K ที่เหมาะสมที่สุดนั้นคือ 4100-5500 เท่านั้น (สีเหลือง หรือ เหลือง-ขาว)
 เพราะในเวลากลางคืน ตาคนเรา ไวต่อแสงที่มีโทนสีร้อน (เหลือง) มากกว่าโทนสีเย็นหลายเท่า
 ยิ่งแสงไฟ มีโทนสี K สูงเท่าไหร่ แสงที่สะท้อนกลับจากพื้นถนน หรือ วัตถุอื่นๆ จะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ และเห็นไม่ชัดมากขึ้น
 ถ้าของที่มีโทนสีสูง (K สูง) ดีกว่า K ต่ำ .. เราคงเห็นเส้นถนน ที่ระบุถึงอันตราย เป็นสีขาวอมม่วง แทนที่จะเป็นสีเหลืองไปนานแล้วครับ

4. หลอด xenon กินไฟน้อยกว่าหลอดธรรมดา แล้วทำไมฟิวส์เดี๋ยวขาดๆ หละ?
............................. ตัวหลอด ไม่กินไฟ  แต่บัลลาสท์กิน และยัดจ่ายไฟให้หลอด ต้องรักษาพลังงานให้คงที่ (P=35 watts +/- 10%)
ตอนเริ่มทำงาน วงจรภายในต้องดึงพลังงานมาสะสมในกล่อง .. เพื่อการจุดอาร์คด้วยพลังงานสูงมาก หลายๆครั้ง ได้พอเพียง
ก็เหมือนกับเล่นซับ ในเครื่องเสียงแอมป์ 100 วัตต์ ขืนต่อฟิวส์ 100/12 .. 8 แอมป์เข้าไป ฟิวส์ขาดกระจาย! เพราะมันสามารถอัดได้้ (สั้นๆ) ถึง 400 วัตต์
แค่ไฟแฟลชถ่ายรูปดวงกระจิ๋ว วงจรภายในยังต้องสะสมพลังงานไว้ถึง 15-50 joules เลย ... มากพอที่จะทำให้คนแกะไฟแฟลชออกมาเล่นโดยไม่รู้เรื่อง ร่วงลงไปกองกับพื้น! (โดนมาแล้ว )

NOTE: ไม่เกี่ยวกับ xenon
... ประสบการณ์ตรงของผม เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา .. เกือบตายครับ ...

เดินทางไปเชียงใหม่ .. ผ่านตาก-ลำปาง-ลำพูน ตอนพลบค่ำพอดี แถมฝนตกปรอยๆ
ไฟองศา K สูง ... มองเส้นถนนไม่เห็นเลย! ต้องเปิด spotlight สีเหลือง ถึงจะค่อยยังชั่วหน่อย

ปล. หลอดไฟหน้า สีเหลือง หายากเป็นบ้า แถมแพงด้วย

มี link ดีๆให้อ่าน เกี่ยวกับ xenon

http://www.camryclub.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30, พฤศจิกายน 2007, 08:13:53 PM โดย muanchon » บันทึกการเข้า
muanchon
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 248


« ตอบ #5 เมื่อ: 29, พฤศจิกายน 2007, 11:57:55 PM »

relay ทำหน้าที่เป็นแค่สะพานไฟเท่านั้น
ถ้าระบบไฟเดิมสมบูรณ์  และมีความสามารถในการทดกระแสสูงได้
การติด relay ก็ไม่มีความจำเป็น
ระบบไฟของรถในอุดมคติ  จะมีแรงดันอยู่ที่ 14.4 volt
ซึ่งในระบบจริงๆ  ก็จะมีแรงดันอยู่แถวๆ 13-14 volt
ถ้าระบบสมบูรณ์ แรงดันที่ตกคร่อมหลอดก็จะอยู่ที่ 13-14 volt
ต่อ relay เข้าไป  แรงดันตกคร่อมก็ได้เท่านั้น  ไม่มีทางได้มากกว่านั้น

ถูกต้องเลยครับ

แต่มีข้อต้องระวังอยู่ 2-3 อย่าง โดยสาเหตุของปัญหาอยู่ตรง ถ้าระบบไฟเดิมสมบูรณ์ ... หาไม่ค่อยได้ครับ


1. นอกจากการเสื่อมตามธรรมชาติ .. การออกแบบ การตลาด มีผลทำให้ระบบไม่ค่อยสมบูรณ์

รถรุ่้นเก่า ... ไฟผ่านเข้าสวิทช์คอกุญแจ ก่อนไปผ่านเข้ารีเลย์ .. ฉนั้น สวิทช์คอกุญแจ รับภาระอย่างหนักบ่อยๆ ไหม้ได้ง่ายๆ

2. เมื่อรถติดเครื่อง และกราวด์สมบูรณ์ แรงดันที่แบตเตอรี่ หรือที่จุดมีไฟใดๆ (Hot wire) เทียบกับกราวด์ ณ จุดใดๆในรถคือ 14.4V
 แต่กราวด์ ไม่เคยสมบูรณ์ (จาก 1 .. การตลาด)
 แรงดันจะในหลายๆจุด จะเหลือแค่ 14.1-14.2 เท่านั้น

3. ไฟหน้า ดึงพลังงาน 50 + 50 = 100w หรือ กระแส 100/14.4 ... 7 Amp. โดยจ่ายไปข้างละ 3.5A
 นั่นหมายความว่า หลอดเมื่อทำงาน จะมีความต้านทาน 14.4/3.5 หรือ 4.1 โอห์ม

 หน้าสัมผัสรีเลย์ จะมีความต้านทาน 0.05-0.1 โอห์มครับ

 หมายความว่า พลังงานสูญเสียที่หน้ารีเลย์ตรงนี้ 0.2-0.4 volts เชียวครับ

4. ในรถทั่วๆไป ไฟจะจ่ายเข้า Load center และอ้อมไปอ้อมมา ผ่านขั้วต่อหลายขั้ว ผ่านฟิวส์หลายตัว ก่อนจะจ่ายให้โหลด
 เป็นอย่างนั้น แม้จะเป็นรถระดับ high ๆ
 ผลคือ เมื่อมีการดึงกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แรงดันตกคร่อมขั้วต่อต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้น แรงดันที่จ่ายออกมาให้โหลดจริงๆ วัดที่โหลด น้อยลงไปเรื่อยๆ
 ในรถหลายๆยี่ห้อ โดยเฉพาะรถญี่ปุ่น จะเห็นชัดเจน .. ดิปไฟหน้าปุ๊บ ไฟหน้าปัทม์รถวูบลง หรือ แอร์ทำงาน ไฟหน้าจะสว่างน้อยลงนิดนึง

 เคยลองวัดดู รถยนต์ที่เครื่องยนต์สมบูรณ์ๆ แต่ใช้งานมา 2 ปี แรงดันที่ขั้วหลอดไฟ เหลือแค่ 13.2-13.5V เท่านั้น ทั้งๆที่แรงดันที่ขั้วแบต อยู่แถวๆ 14.2-14.3V
 (ใช้ Fluke digital วัดในรถ 5 คัน ทั้งยุโรป ญี่ปุ่น และ USA เป็นไปตามที่คาดคะเนในทฤษฎี)

 หายไปเกือบ 1 volts (7%) เชียวนะครับ

 จาก P = V2/R จะเห็นได้ว่า ถ้า V ลดลง 7% จะทำให้ P ลดลง 15%

5. การเดินไฟจ่ายให้หลอดไฟหน้า หรือ load ต่างๆ ที่ถูกต้อง คือ เดินออกจากแบตเตอรี่โดยตรง ผ่านฟิวส์ ก่อนไปเข้ารีเลย์ ที่อยู่ใกล้โหลดมากที่สุดเท่าที่จะมากได้


หลอด D1 มีวงจรจุดอาร์คนำร่อง .. ตัวบัลลาสท์ไม่ค่อยเท่าไหร่
แต่หลอด .. แพงระยับ แถมทำยากมาก (เอาวงจรสารพัดใส่เข้าไป ใกล้ที่ร้อนจี๋ๆ มันก็พังอะดิ) .. เริ่มเสื่อมความนิยมลงแล้ว

ตรงนี้ผิดครับ

มี บ.หลายๆเจ้า เริ่มปั่นกระแส D1 ขึ้นมาอีกรอบ
ตอนนี้ วิวัฒนาการเรื่อง pulse transformer (PT) มันดีขึ้น ทำให้สามารถใส่เข้าไปที่ขั้วหลอดได้

ผลคือ บัลลาสท์จ่ายแรงดันแค่ระดับ 1-2 kV ไปที่ขั้วหลอด ตัว PT จะดันแรงไฟขึ้นให้สูงพอ (15-20kV) เพื่อจุดอาร์ค

มันง่ายกว่าจ่ายแรงดัน 15-20 kV ผ่านห้องเครื่องไปที่ขั้วหลอดเยอะ

เมื่อแรงดันต่ำลง สายไฟที่นำแรงดัน 1kV สามารถลากได้ยาวกว่าเดิม การป้องกันแรงดันอาร์คลงกราวด์ก็ง่ายขึ้น

และที่สำคัญ ตัวบัลลาสท์ สามารถวางไกลๆหลอดได้ ไม่ต้องมาวางไว้แถวๆหน้าเครื่อง ให้อกสั่นขวัญแขวนกับน้ำที่จะสาดใส่

ใครจะใส่ xenon .. ดูเรื่องของ -S กับ -R ที่ต่อท้ายหลอดให้ดีๆครับ ไม่งั้นอาจโดนจิ๊กโก๋หน้าปากซอย เขวี้ยงหินใส่ได้่

หลอดตระกูล -R ใช้กับพวกโคมสะท้อนแสง (reflector) ... ตัวจานฉายจะควบคุมลำแสงให้ลงล่างเอง ... พวกไฟตาเพชรสมัยใหม่นั่นแหละครับ

หลอดตระกูล -S ใช้กับพวกมีเลนส์อยู่ที่กระจกหน้า ตัวจานฉายจะเรียบๆ .. เห็นได้ชัดๆ คือ ไฟยิ้มของ BMW พวก 520i หรือ 320i ที่ยังไม่มีกระจกปิดทับ หรือ MB รุ่นใหม่ๆ
บันทึกการเข้า
muanchon
หักซ้าย หักขวา ไม่มีล้ม
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 248


« ตอบ #6 เมื่อ: 30, พฤศจิกายน 2007, 12:01:37 AM »

ข้อมูลค่อนข้างเยอะแต่คิดว่ามีประโยชย์สำหรับคนชอบศึกษาเลย copy บางส่วนมาให้อ่านกัน
ถ้าอยากได้รายละเอียดก็ไปตาม link ได้เลยครับ

http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/V3793028/V3793028.html
บันทึกการเข้า
tassayu
ถ้าสำนึกดี ---->>>> สังคมมันก็จะดี
CBR Commando
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,199


มหาลัยชีวิตคณะศาสตร์การดื่มสาขาเหล้าและเบียร์


« ตอบ #7 เมื่อ: 30, พฤศจิกายน 2007, 12:53:57 AM »

ดีมากเลยครับ  กำลังจะเปลี่ยนอยู่ OSRAM 25W/25W เนี่ย
บันทึกการเข้า



Uploaded with ImageShack.us
เรียบๆ ง่ายๆในที่แจ้ง   แต่มีเยอะมากมาย ในที่มืด
BLUESKY
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 30, พฤศจิกายน 2007, 06:36:14 AM »

หุหุ อยากบอกว่า แค่หลอดไฟรถเล็กๆๆ ก็ถ้าดับก็น่ากลัวเหมือนกัน อย่าประมาทอ่ะดีเลยนะครับพี่ๆ เน่อๆๆ
บันทึกการเข้า
GOOD
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 30, พฤศจิกายน 2007, 08:01:28 AM »

บอกได้คำเดียวว่าสุดยอดครับ
ขอบคุณที่ไปหาอะไรดีๆมาให้อ่าน
บันทึกการเข้า
F-CBR
---->>Ambition Never Comes To An End.<<----
CBR Commando
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,569


>>>ความ ฝัน ไม่ เคย หยุด ยั้ง<<<

wave-2004@hotmail.com
« ตอบ #10 เมื่อ: 30, พฤศจิกายน 2007, 03:46:33 PM »

ขอบคุณคับ สำหรับเนื้อหาดีๆ
บันทึกการเข้า

"ไม่ว่านักขับจะเทพแค่ไหน แต่ที่วิ่งคือรถเราแค่คนนำทาง"

THE_MIN
THE_MIN CBR 150 R
I'm CBRsCLUB
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,889


=ชีวิตไม่สิ้นก็บิดมันเข้าไป CBR 150 R=

1118 sarawut_min@yahoo.co.th 1118 THE_MIN
« ตอบ #11 เมื่อ: 30, พฤศจิกายน 2007, 06:35:33 PM »

ขอบคุณครับ
ที่หาอะไรมาให้อ่านครับ
บันทึกการเข้า

ถ้าคิดที่จะไป...
ถ้าคิดที่จะแรง....
ถ้าคิดที่จะแซง.....
แรงที่ใจไปกับ CBR 150 R........THE_MIN
eak373
I'm CBRsCLUB
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,356


เที่ยวไปตามตะวัน

eak_opti@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: 30, พฤศจิกายน 2007, 11:30:46 PM »

ได้ความรู้เยอะเลย ขอบคุณนะคับ
บันทึกการเข้า
Dewz
น้องกล้วยหอม
I'm CBRsCLUB
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,405


dewzbiggalo@hotmail.com
« ตอบ #13 เมื่อ: 01, ธันวาคม 2007, 11:47:33 PM »

OSRAM คับ ชัวร์สุด
บันทึกการเข้า

crossbonex
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 02, ธันวาคม 2007, 12:28:52 AM »

 ;D ผมคนนึงล่ะไม่ค่อยพอใจเรื่องแสงสว่าง หิๆๆ ล่อ xenon 6000k ของ p4 สะเลย


ปัญหาที่พบก็คือ

1.เจอโซนรถติดหรือวิ่งรอบต่ำไม่เกิน 2 ชม. แบตอ่อน
2.เปิด-ปิดเล่นบ่อยๆ แบตหมดเร็วกว่าเดิม



*อัลเทอเนเตอร์* ของcbr ผลิตกระแสไฟได้ 0.155kw ที่ 5000รอบ/นาที  ถือว่า น้อยมั่กๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02, ธันวาคม 2007, 12:36:15 AM โดย crossbonex » บันทึกการเข้า
Dorothy
A design for life
ตามมาเร็ว เดี๋ยวจะพาไปออกทริป
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 356


Ballad of the broken seas


« ตอบ #15 เมื่อ: 02, ธันวาคม 2007, 12:54:06 AM »

อืม หูตาสว่างขึ้นมาอีกเป็นกองเลย ดีมั่กๆ คับ
บันทึกการเข้า

Start your engine!!!
ViRuS_BC
CBR Commando
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7,454



« ตอบ #16 เมื่อ: 16, ธันวาคม 2007, 08:03:18 AM »

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ดีมากๆ
บันทึกการเข้า

Eragon
เร่งได้ดังใจ ไปถึงจุดหมาย ด้วยcbr 150 cc
I'm CBRsCLUB
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,528


แดง-ดำ

jess2529@hotmail.com
อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: 18, ธันวาคม 2007, 05:16:46 PM »

เมื่อหลอดสว่างเต็มที่ แรงดันในหลอดจะสูงขึ้น 30-40 bar

เอิ้ก 40 barคูณกับ 14.7 จะได้เป็นpsi  เป็นไปได้หรอเนี้ย588 psi ลมยางเติม40 psi เอง
40 bar นี้ถ้าเป็นปั๊มลมต้องใหญ่ๆมากๆ   หลอดแก้วทนไหวหรอจะระเบิดไหม
บันทึกการเข้า

sirihomecare
ขับช้า แต่อย่าให้ใครแซง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 129



อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: 26, ธันวาคม 2007, 06:42:56 PM »

โห!.!.!.    ชัดเจนมากครับ เข้าใจผิดมาตั้งนาน
บันทึกการเข้า

ittichain
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: 01, เมษายน 2008, 06:42:13 AM »

 ;)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  



หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 26 คำสั่ง